Page 163 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 163
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 105
มาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับสังคมสูงอายุเข้าด้วยกัน หลังจากการจัดท ากรอบประเด็นของมาตรการดังกล่าวในปี
1996 กรอบประเด็นครั้งที่ 2 ก็ได้รับการก าหนดและอนุมัติโดยคณะรัฐมนตรีในปี 2001 และในปี 2010
รัฐบาลก็ได้มีการปรับปรุงแก้ไขในก าหนดกรอบประเด็นของมาตรการส าหรับสังคมสูงอายุ การปรับปรุงแก้ไข
กรอบประเด็นของมาตรการส าหรับสังคมสูงอายุ ได้มีการด าเนินการทุก 5 ปี
(1) หลักการพื้นฐานของกฎหมายพื้นฐานฯ
ส าหรับการส่งเสริมมาตรการบนหลักการพื้นฐานของ The Basic Act on Measures for the
Aging Society ประกอบไปด้วย 6 หลักการ ได้แก่
1. การเปลี่ยนวิถีความคิดเกี่ยวกับการตระหนักถึงผู้สูงอายุ (Changing in ways of thinking
about elderly awareness)
2. การจัดตั้งระบบประกันสังคมเพื่อท าให้เกิดความสงบทางจิตแก่ประชาชนในวัยสูงอายุ
3. การใช้ความตั้งใจและศักยภาพของผู้สูงอายุ
4. การสร้างความเข้มแข็งแก่อ านาจการบริหารจัดการในระดับภูมิภาค (Regional power)
และความมั่นคงแก่สังคมในระดับภูมิภาค (Regional society)
5. การท าให้เกิดสภาพที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยและสงบสุข
6. การเตรียมการส าหรับชีวิตของคนในวัย 90 ปีโดยเริ่มตั้งแต่ในวัยอายุน้อยและการท าให้เกิด
ในรุ่นต่าง ๆ (realization of generation cycles)
เพื่อให้เกิดการเข้ามามีส่วนร่วมของพลเมืองทั้งหมดในการวางแผนเกี่ยวกับ “Dynamic
Engagement of All -Citizens” ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการแห่งชาติส าหรับการเข้ามามีส่วนร่วมระยะยาว
149
ส าหรับพลเมืองทั้งหมด (The National Council for Dynamic Engagement of all Citizens”
(2) มาตรการภายใต้กฎหมายพื้นฐานฯ
กฎหมายพื้นฐานด้านมาตรการส าหรับสังคมสูงอายุ (The Basic Act on Measures for the
Aging Society) คือ กรอบมาตรการต่าง ๆ ที่หน่วยงานรัฐจะต้องน าไปปรับใช้โดยการแก้กฎหมายและ
กฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการคุ้มครองประชากรสูงอายุ
กฎหมายต่าง ๆ ที่มีการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้เกิดการบังคับใช้หรือการปฏิบัติในการคุ้มครอง
150
ป้องกันผู้สูงอายุในด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิต ครอบคลุมนโยบายและมาตรการหลายด้าน ดังนี้
149 ส านักนายก ก าหนดเป้าหมายของการเข้ามามีส่วนร่วมของพลเมืองทุกคน ผ่าน “ธนูสามดอกใหม่” (“New Three
Arrows”) ซึ่งประกอบไปด้วย “เศรษฐกิจที่เข้มแข็งเพื่อท าให้เกิดความหวัง” (“the strong economy to generate
hopes”) “การสนับสนุนการเลี้ยงดูบุตรเพื่อสานฝัน” (“child-rearing support to weave dreams”) และ “การ
ประกันสังคมที่น าไปสู่ความสงบทางจิตใจ” (“the social security that leads to peace in mind”).
150 การคุ้มครองด้านการจ้างงานและบ านาญ มีรายละเอียดในหัวข้อ 3.2.2