Page 80 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 80
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561) 79
การเป็นเจ้าของและร่วมกันอนุรักษ์และจัดการใช้ทรัพยากร เนื่องจากชาวบ้านมีความเห็นว่า การบังคับ นำามา
ซึ่งการขาดสิทธิ ดังนั้น การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงจากหลายภาคส่วนที่มีส่วนได้ส่วนเสียไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ผู้นำา
ศาสนา ผู้นำาชุมชน ถือเป็นเงื่อนไขหนึ่งในการทำาให้การขับเคลื่อนเพื่อสิทธิชุมชนประสบความสำาเร็จ ชาวบ้านใน
พื้นที่แสดงความคิดเห็นว่า “ตัวชี้วัดที่เห็นชัดคือ ความสามัคคี ถ้าเราไม่มีทุนไม่มีอะไรมันก็ทำางานลำาบาก ทำาคนเดียว
กับทำากันหลายคนมันจะดีกว่า เมื่อก่อนชาวบ้านยังไม่จับกลุ่มกัน เมื่อเรือใครนำ้ามันหมดตอนที่ไปจับปลา
เขาก็ไม่หันหน้ามาคุยกัน ต่างคนต่างอยู่ จะไม่ค่อยช่วยเหลือกัน แต่สมัยนี้พอเราอยู่กันเป็นกลุ่ม มีการอนุรักษ์
ทรัพยากรร่วมกัน ชาวบ้านพึ่งพาอาศัยช่วยเหลือซึ่งกันและกันมากขึ้น ช่วยกันดูแลแชร์ความคิดของกันและกัน
ตัวชี้วัดที่เห็นชัดก็คือความสามัคคีในชุมชน”
การขัดแย้งที่เกิดขึ้นในการเข้าถึงสิทธิชุมชนในอ่าวปัตตานีมีกรณีการส่งข้อร้องเรียนมายัง กสม. ดังนี้
กรณีก�รกล่�วอ้�งว่�ช�วประมงพื้นบ้�นได้รับผลกระทบจ�กก�รประก�ศบังคับใช้พระร�ช-
กำ�หนดก�รประมง พ. ศ. 2558
กรณีผู้ร้องเรียนที่กล่าวอ้างว่าชาวประมงพื้นบ้านได้รับผลกระทบ เรื่องสิทธิชุมชนและการประกอบ
อาชีพจากการประกาศบังคับใช้พระราชกำาหนดการประมง พ.ศ. 2558 โดยเฉพาะ ในมาตรา 34 ที่บัญญัติห้าม
ชาวประมงพื้นบ้านทำาการประมงในเขตนอกทะเลชายฝั่งโดยเด็ดขาด พร้อมทั้งกำาหนดโทษหนักสำาหรับผู้ฝ่าฝืน
ทั้งที่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาชาวประมงพื้นบ้านสามารถออกทำาการประมงนอกเขตชายฝั่งได้ โดยไม่กระทบต่อ
ทรัพยากรธรรมชาติหรือทำาให้รัฐเสียหาย กรณีดังกล่าวจึงเป็นการจำากัดสิทธิในการประกอบอาชีพของประชาชน
เนื่องจากชาวประมงพื้นบ้านตั้งถิ่นฐานบริเวณชายฝั่งทะเลในลักษณะชุมชนท้องถิ่น ชุมชนดั้งเดิม มีการอนุรักษ์
ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน แต่ก่อนการประกาศใช้พระราชกำาหนดการ
ประมงฉบับนี้ รัฐไม่ได้เปิดโอกาสให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบ ซึ่งอาจ
ถือเป็นการละเมิดสิทธิชุมชน
กสม. จึงมีมติในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 23/2559
เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ให้ยุติเรื่องและมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ตามรายงานผลการพิจารณา
เห็นว่า เพื่อแก้ปัญหาของชาวประมงพื้นบ้านควบคู่ไปกับการจัดระบบการบริหารจัดการการประมง
ให้ถูกกฎหมาย มีการรายงาน และมีการควบคุมให้เกิดการประมงที่ยั่งยืน และเป็นไปตามจรรยาบรรณ
ของผู้ทำาการประมงที่มีความรับผิดชอบ ตลอดจนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชกำาหนด
การประมง พ.ศ. 2558 มาตรา 4 (2) ที่ประสงค์จะปกป้องคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุน
ประมงพื้นบ้านและชุมชนประมงท้องถิ่น จึงมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย ดังนี้