Page 76 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 76

ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)  75







                        การนิยาม หรือการรับรู้ในเรื่องสิทธิชุมชนเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่จะนำามาสู่การบังคับใช้กฎหมาย และ
               การดำาเนินการตามบทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องสอดคล้องกับหลักการสิทธิชุมชน



                        นิย�มสิทธิชุมชนในอ่�วปัตต�นี

                        สิทธิชุมชนในทางปฏิบัติแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ชุมชนมีความเข้าใจอยู่แล้วถึงวิถีการใช้ชีวิตและการจัดการ

               ทรัพยากรตามธรรมชาติเพื่อการยังชีพตามวัฒนธรรมของตน รวมไปถึงการร่วมรักษาให้คงอยู่ แต่เมื่อสังคม
               มีการพัฒนาไปมีการเคลื่อนย้าย อพยพ และการเดินทางเพื่อแสวงหาทรัพยากรเพื่อตอบสนองความต้องการ

               ทำาให้เกิดปัญหาในเรื่องความเข้าใจเรื่องการครอบครองสิทธิหรือการครอบครองทรัพยากรขึ้น ระหว่างคนในพื้นที่
               และคนนอกพื้นที่ จากเดิมที่คนในชุมชนรับรู้และเข้าใจว่าพื้นที่ใดเป็นพื้นที่สาธารณะทุกคนสามารถมีสิทธิในการ

               หาอยู่หากิน ในทรัพยากรในพื้นที่นั้น และไม่มีใครสามารถมีกรรมสิทธิ์ผูกขาดนำาไปเป็นสิทธิของตนเองได้  และ
               ไม่สามารถกีดกันให้คนอื่นใช้หรือเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นของสาธารณะได้ แต่เมื่อมีสถานการณ์ดังกล่าว

               เกิดขึ้น ประเด็นเรื่องสิทธิชุมชนจึงถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงและการสร้างหรือให้การเรียนรู้และการรับรู้
               เกี่ยวกับสิทธิชุมชน ทำาให้ต้องมีการนิยามว่าสิทธิชุมชนหมายถึงอะไร ซึ่งนิยามหรือความเข้าใจของภาคส่วนต่าง ๆ

               ที่เกี่ยวข้อง นั้น รวมไปถึงการพยายามกำาหนดบทบาทหน้าที่ว่าจะเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องสิทธิชุมชน
               ในพื้นที่อ่าวปัตตานีด้วย

                        ผู้วิจัยแสดงให้เห็นถึงนิยามของสิทธิชุมชน ทั้งในมุมมองของชาวประมงพื้นบ้าน ชาวบ้านทั่วไป
               ในพื้นที่ ดังนี้



                        ประช�ชนทั่วไปในอ่�วปัตต�นี

                        จากการศึกษาพบว่า นิยามของสิทธิชุมชนจากชาวบ้านในพื้นที่ก็มีความเข้าใจในระดับที่แตกต่าง
               และหลากหลาย ในแง่มุมแรก ชาวบ้านในพื้นที่ มีความเข้าใจร่วมกันว่า สิทธิชุมชนในความหมายของสิทธิ

               ในความเป็นเจ้าของร่วมหรือของสาธารณะ ทุกคนมีสิทธิร่วมกัน โดยทุกคนสามารถใช้ร่วมกันได้ ทุกคนได้รับ
               เท่ากัน สิทธิที่ไม่ใช่ของใคร ที่ดินที่ไม่มีเจ้าของ ที่สาธารณะ พื้นที่ในทะเล ทะเลไม่มีเจ้าของ มัสยิด โรงเรียน

               ที่ที่คนในชุมชนสามารถใช้ร่วมกันได้
                        ความเข้าใจของคนในพื้นที่บางส่วนเข้าใจว่าสิทธิชุมชนหรือทรัพยากรไม่จำากัดเพียงแค่

               ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนแต่หมายรวมถึงทรัพยากรที่ได้รับการจัดสรรจากภาครัฐด้วย ก็ถือเป็นทรัพย์สิน
               สาธารณะที่เมื่อรัฐมอบให้ทุกคนมีสิทธิในการได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง และสิ่งนั้นเป็นสิทธิของชุมชน

               เช่น การได้รับแจกปะการังเทียมและพันธุ์อนุบาลสัตว์นำ้า สิทธิในการทำาประมงชายฝั่งทะเล คือมีสิทธิในการใช้
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81