Page 78 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 78
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561) 77
จากการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรตามธรรมชาติในอ่าวปัตตานีพบว่า หากชาวบ้านหรือ
ชุมชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของจะทำาให้มีจิตสำานึกในการรักษาและดูแลปกป้องอ่าวและทรัพยากรรอบอ่าวปัตตานี
ยกตัวอย่างการบริหารจัดการพื้นที่และการใช้ทรัพยากรในพื้นที่อ่าว ในอดีตชาวบ้านใช้การตั้งชื่อพื้นที่ตามชื่อของ
ผู้ที่ไปหาปลาหรือสัตว์นำ้าในพื้นที่นั้น ซึ่งมีมากกว่า 60 ชื่อ ถือเป็นการรักษาสิทธิของคนสมัยก่อนซึ่งแตกต่าง
จากในปัจจุบัน ดังที่ชาวบ้านเล่าถึงการบริหารจัดการพื้นที่ตามลักษณะการใช้งานว่า “แต่ละพื้นที่จะมีชื่อเรียก
ที่เป็นชื่อคน เช่น ลาโจ๊ะเปาะฮะ ลาโจ๊ะดือเระ และลาโจ๊ะเจ๊ซีตี ที่เป็นชื่อคนเพราะว่าที่บริเวณนั้นจะเป็นที่ที่คน
คนนั้นจะไปหาปลาทุกวันเป็นประจำาเวลาเดิม และเวลานั้นพื้นที่นั้นก็จะเป็นของเขา ถ้านอกเวลานั้นคนอื่นก็ไปใช้
สิทธิในพื้นที่นั้นได้เป็นเหมือนความเชื่อ และภูมิปัญญาแบบหนึ่งที่อยู่เป็นวิถีปฏิบัติของคนในพื้นที่ พอคนนั้น
เสียชีวิตคนอื่นก็ไปใช้ที่ตรงนั้นได้แต่ต้องเคารพ และให้เกียรติเจ้าของเดิมจึงกลายเป็นความเชื่อสิ่งเหนือธรรมชาติ
และยังเป็นการปกป้องทรัพยากรได้อีกด้วยเช่น พื้นที่บริเวณลาโจ๊ะเจะซีตีเป็นบริเวณที่เขาไปจับนกกันถ้าใคร
ไปตัดต้นไม้ในบริเวณนั้นเจ๊ะซีตีก็จะมาหลอกเป็นความเชื่อเรื่องสิ่งเหนือธรรมชาติแต่มันเป็นสิ่งที่ขัดกับหลักศาสนา
เพราะเข้าข่าย (ชีริก) อาจทำาให้ตกศาสนาได้” อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันความเชื่อเหล่านี้แทบจะไม่มีเหลือแล้วเพราะ
กลุ่มนักศึกษาที่เรียนด้านตะวันออกกลางกลับมาต่อต้านความเชื่อเหล่านี้จึงพยายามไม่ให้เชื่อเรื่องสิ่งเหนือ
ธรรมชาติ ดังนั้นระบบการจัดการแบบเดิมจึงเป็นเพียงแค่การบอกเล่าประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาของคนดั้งเดิม
ในพื้นที่ถึงการพยายามจัดการสิทธิของชุมชนด้วยวิธีการเคารพซึ่งกันและกันในวิถีอาชีพและการดูแลรักษา ชาวบ้าน
คนหนึ่งสะท้อนความรู้สึกว่า “เราพยายามจะบอกว่ามันเป็นสิทธิของชุมชนนะพวกเขาเคยทำามาหากินที่นี่มาก่อน
จู่ ๆ พวกคุณจะมาไล่พวกผมไปได้ยังไงมีแค่ชื่อที่ยังเหลืออยู่จะให้มันเป็นรูปธรรมก็พูดยาก ต้องทำาให้มันคาบเกี่ยว
ประวัติศาสตร์ ว่าเป็นของพวกเรา คุณจะไปทำาอะไรไม่ได้มันเป็นของพวกเรา คือสิทธิความเป็นเจ้าของ ไม่ใช่
ของเราคนเดียวแต่เป็นของทุกคนเป็นสิทธิของชุมชนจริง ๆ”
นิย�มสิทธิชุมชน : หล�กมิติหล�ยคว�มเชื่อ
ความเข้าใจนิยามสิทธิชุมชนที่แตกต่างกันมีสาเหตุมาจากการยึดหลักในการอธิบายที่แตกต่างกัน
เช่น คนบางกลุ่มยึดตามหลักศาสนา คนบางกลุ่มยึดตามหลักความเชื่อ คนบางกลุ่มยึดหลักกฎหมาย ในขณะที่
คนบางกลุ่มยึดตามหลักผลประโยชน์ กลุ่มที่ยึดตามความเชื่อให้นิยามว่า สิทธิ ก็คือ เฮาะ ของเรา หน้าบ้าน
เราก็เป็นของเรา ดังนั้นเราจึงสามารถจัดการและใช้ประโยชน์จากพื้นที่และทรัพยากรที่อยู่หน้าบ้านของ
เราได้ เพราะมันเป็นสิทธิของเรา ในขณะที่ หากนิยามตามกฎหมาย ซึ่งมักเป็นการกำาหนดในลักษณะจาก
บนลงล่าง หากคนในชุมชนมีความเชื่อและการกระทำาที่แตกต่างออกไป ก็อาจจะผิดกฎหมายได้ สำาหรับ
การละเมิดสิทธิ สมาชิกในอ่าวปัตตานีคนหนึ่งอธิบายว่า “สิทธิของชุมชนเปรียบเหมือนเรามีโฉนดที่ดิน คุณจะ
มาทำาอะไรที่ดินผมไม่ได้ แต่ตรงนี้สิทธิชุมชนที่นี่ใครก็ได้มีสิทธิเท่า ๆ กันในการที่จะไปประกอบอาชีพ แต่คุณต้อง