Page 84 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 84
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561) 83
ลูกหลานให้ได้เรียนหนังสือ ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ไม่ส่งผลกระทบต่อวงกว้าง คือ ไม่ส่งผลให้ประชาชน
ทุกคนไม่มีอาหารทะเลในการบริโภค ลดปัญหาการลักขโมย ลดปัญหาการใช้เครื่องมือประมงที่ทำาลายทรัพยากร
สัตว์นำ้า ลดปัญหาการข้ามไปทำางานในประเทศมาเลเซีย แต่ในทางกลับกัน หากไม่มีการจัดการเรื่องสิทธิชุมชน
อย่างแท้จริงจะทำาให้เกิดผลกระทบตามมาในแง่ลบคือ อ่าวปัตตานีถูกทำาลาย ทรัพยากรเสื่อมโทรมและลดลงอย่าง
รวดเร็วจากการหาผลประโยชน์ของฝ่ายต่าง ๆ ทำาให้ชาวประมงไม่มีงานทำา จึงต้องออกไปประกอบอาชีพที่อื่น
ตลอดจนโครงการที่ไม่เกิดประโยชน์และตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง และการ
แก้ไขปัญหานั้นไม่ยั่งยืน จะเป็นปัญหาสังคมต่อไปในวงกว้าง ซำ้าเติมสถานการณ์ในพื้นที่ จากการที่ชาวประมงไม่มี
พื้นที่ในการทำามาหากิน ทำาให้เยาวชนหันไปเสพยาเสพติด ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีอาหารทะเลที่ไร้สารพิษบริโภค
และเด็กขาดการดูแลเนื่องจากพ่อแม่ต้องไปทำางานประเทศมาเลเซีย ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นจากการไร้ซึ่งการทำาให้
สิทธิชุมชนเกิดขึ้นจริงในพื้นที่อาจจะส่งผลกระทบในวงกว้างจนชุมชนล่มสลายอย่างที่เคยมีบทเรียนมาแล้วใน
หลายพื้นที่ที่รับเอาการพัฒนาที่ไม่คำานึงถึงความต้องการและบริบทของการรักษาความเข้มแข็งของชุมชน
เข้ามาในพื้นที่
โดยสรุป จึงอาจกล่าวได้ว่า ประชาชนมีความเข้าใจว่าสิทธิชุมชนนั้น เป็นทั้งสิทธิที่เขามีอยู่แล้ว และ
สิทธิที่ต้องมีคนมามอบให้ อย่างไรก็ตามนิยามของสิทธิชุมชนนั้น ชุมชนดั้งเดิมมีสิทธิอยู่แล้วโดยไม่จำาเป็นต้องมี
ผู้ใดมามอบให้ ดังนั้นสำาหรับภาครัฐ/ประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ที่ไม่ได้มีวิถีชีวิตที่พึ่งพิงฐานทรัพยากรในการ
ดำารงชีวิตอาจถือเป็นเรื่องใหม่ เพราะในกรอบของกฎหมาย สิทธิชุมชนเพิ่งถูกนำามาใช้และรู้จักกันในรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 ซึ่งแม้เป็นเรื่องที่อยู่ในวิถีชีวิตของชุมชนมาแต่ดั้งเดิมแล้วก็ตาม
แต่ความเข้าใจที่แตกต่างกันนี้เองนำามาสู่ความท้าทายในการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิชุมชนในอ่าวปัตตานีจนกระทั่ง
ปัจจุบัน