Page 75 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 75

74     วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน






                     นิย�ม องค์ประกอบและตัวชี้วัดสิทธิชุมชน


                     หลักการสิทธิชุมชนที่มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ (2543, น. 35-40) ได้นิยามของสิทธิชุมชนโดยจำาแนก
            ให้เห็นตามองค์ประกอบดังต่อไปนี้

                     หนึ่ง สิทธิชุมชน คือข้อตกลง กฎเกณฑ์ทางสังคม หรือการพัฒนาไปสู่ความเป็นสถาบันร่วมกันของ

            กลุ่มคนเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ  การจัดการเศรษฐกิจ สังคมและอื่น ๆ นั้น ในระบบการจัดการ
            ทรัพยากรและการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล
                     สอง สิทธิชุมชนรูปแบบเชิงซ้อน ภายใต้ข้อตกลงจัดการร่วมกันของชุมชนจะมีสิทธิหลายประเภท

            แต่สัมพันธ์กัน เช่น สิทธิการครอบครอง สิทธิการใช้ การจัดการ สิทธิแต่ละประเภทถูกจัดขึ้นมาตามความสัมพันธ์กัน

            ภายใต้ความเป็นชุมชน สำาหรับสิทธิในลักษณะความสัมพันธ์เชิงซ้อน
                     ส�ม สิทธิชุมชนมีลักษณะเน้นการมีส่วนร่วม ไม่กีดกันการมีส่วนร่วมจากภายนอก แต่ก็สร้างเงื่อนไข
            หรือกฎกติกาควบคุมการใช้จากภายนอกไม่ให้ละเมิดของชุมชน

                     สี่ อุดมการณ์ของสิทธิชุมชนวางอยู่บนพื้นฐานว่าด้วยความยั่งยืน และความเป็นธรรม โดยให้สมาชิก

            ได้มีส่วนร่วมในการเข้าถึงทรัพยากร และได้รับการแบ่งปันทรัพยากรร่วมกันอย่างเป็นธรรม การที่ชุมชนจะอยู่รอดได้
            ต้องอยู่บนพื้นฐานทรัพยากรที่ยั่งยืน ไม่ใช่บริโภคให้หมดไป



                     จากองค์ประกอบสิทธิชุมชนดังกล่าวอาจนำามาสู่การกำาหนดตัวชี้วัดเบื้องต้นของการมีสิทธิชุมชน

            4 ประการ ได้แก่
                     ตัวชี้วัด ที่ 1 มีการบังคับใช้สิทธิชุมชนประสบความสำาเร็จหรือไม่ เช่น ชุมชนได้รับความไว้วางใจและ
            สามารถให้คำาแนะนำาเกี่ยวกับกิจกรรมหรือนโยบายด้านการทำาประมงในอ่าวปัตตานีแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                     ตัวชี้วัดที่ 2 มีเป้าหมายเพื่อจัดการใช้และบำารุงรักษาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

            หรือไม่ เช่นมี การกระทำาหรือดำาเนินการเกี่ยวกับอ่าวปัตตานีเป็นไปเพื่อความสมดุลและยั่งยืนของฐานทรัพยากร
            ที่ชุมชนมี
                     ตัวชี้วัดที่ 3 มีการบังคับใช้สิทธิในลักษณะที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือไม่ เช่น มีการ

            เคลื่อนไหว/ขับเคลื่อนหรือการกระทำาใด ๆ ที่ก่อให้เกิดการยอมรับการมีอยู่ของสิทธิชุมชน

                     ตัวชี้วัดที่ 4 มีการบังคับใช้สิทธิชุมชน ได้นำาไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชนหรือไม่ เช่น มีกิจกรรม/
            ประเพณีตามวัฒนธรรมของชุมชนดั้งเดิมที่จัดขึ้น/กระทำา  เพื่อสร้างจิตสำานึกในการร่วมกันดูแลปกป้อง
            ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน เพื่อการจัดการดูแลทรัพยากรของตน (สาวตรี สุขศรี, 2554, น. 4)
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80