Page 79 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 79

78     วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน






            เคารพพื้นที่ที่ทำา แต่ที่เขาทำานี่เพราะว่าเหมือนนกเวลามันบินออกไปหากิน ต้นไหนมีผลมันก็จะบินไปอยู่ตรงนั้น

            มันไม่ได้เจาะจงว่าวันนี้ต้องไปบานาตลอดไม่ใช่ แต่เมื่อกฎหมายกำาหนดอย่างนี้ แสดงว่าคุณกำาลังไปจำากัดสิทธิ
            ของคนในพื้นที่ว่าคุณออกนอกนั้นไม่ได้ ซึ่งมันขัดหลักของศาสนาด้วยเพราะว่าในทางศาสนาการกระทำาดังนี้คือ

            วากัฟ หรือของส่วนรวมใครใช้ก็ได้เพราะ สิทธิชุมชนมันคือที่สาธารณะ ชุมชนมันคือทั้งหมด สังคม เศรษฐกิจ ด้วย
            จึงถือเป็นการละเมิดสิทธิต่อชุมชน คำานิยามของสิทธิชุมชนในด้านศาสนากับในด้านของกฎหมายมันต่างกัน พอมี

            กฎหมาย สิทธิด้านศาสนาก็หายไป สิทธิในด้านกฎหมายมันมีพลังมากกว่า เช่น เมกกะโปรเจค ต้องทำา
            ต่อให้กระทบกับสิทธิของคนในชุมชนก็ตาม เพราะโครงการใหญ่ ๆ ก็จะทับซ้อนกับสิทธิชุมชนอยู่แล้ว สุดท้าย

            คนที่ปกป้องสิทธิชุมชนก็ต้องเข้าตาราง”
                     ตัวอย่างปัญหาการละเมิดสิทธิชุมชนในอ่าวปัตตานีและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

            โดยไม่คำานึงถึงผลกระทบต่อสาธารณะ ที่เป็นปัญหาหลักคือ การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์จับสัตว์นำ้า ไม่ถูกหลักทำาให้
            จับปลาเล็กปลาใหญ่ กุ้งเล็กกุ้งใหญ่ และยังทำาลายดินใต้ท้องทะเล จนทำาให้ทรัพยากรในทะเลเสียหายและ

            อาจจะลดจำานวนลงจนสูญพันธุ์ เป็นการทำาลายความหลากหลายทางระบบนิเวศ นอกจากนี้ ยังมีปัญหานากุ้ง
            นาร้าง ทำาลายทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล และป่าชายเลน ผลกระทบทางระบบนิเวศ นำ้าจากนากุ้งไหลลงสู่

            ทะเล ชาวบ้านเล่าว่า “อดีตแค่เดินริมทะเลก็เห็นหอยสามารถเก็บกับมือได้เลย ปัจจุบันมีการใช้อุปกรณ์ไม่ถูกต้อง
            คือ คราดเหล็ก ซึ่งคราดเหล็กเป็นอุปกรณ์ที่สามารถขูดหอย และดินใต้ทะเลออกมา ในอดีตสาหร่ายมีมาก ปัจจุบัน

            ไม่มีเลย เพราะความมักง่ายของมนุษย์ที่ทิ้งขยะ ไม่รักษาความสะอาด” ซึ่งหากจะกล่าวถึงสิทธิชุมชนคนในพื้นที่
            รอบอ่าวปัตตานียังมีหลายปัญหาที่ต้องได้รับการจัดการด้วยการดูแล เช่น รอบอ่าวปัตตานีนี้จะมีพื้นที่

            ป่าชายเลนที่กว้างใหญ่และมีความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์นำ้าและป้องกันการกัดเซาะของตลิ่ง
            และชายฝั่งทุกหมู่บ้าน มีลักษณะเป็นป่าชุมชน และธนาคารอาหารของคนป่าชายเลน แต่ปัจจุบันได้มีการ

            เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากมีการจัดการแบบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล ที่ป่าชายเลนถูกออกเป็นโฉนดเป็นของนายทุน
            ออกไปหมด ชาวบ้านเล่าว่า “นี่คือประเด็นบนบกคือป่าชายเลนในทะเล 10 ปีที่แล้ว นายทุนจองลงทุนทำามาหากิน

            แย่งชิงกับชาวบ้านชาวประมง จนแจ้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแยกทางทางทะเลอ่าวที่เป็นของคนส่วนรวม สิทธิชุมชน
            มีทั้งบนบก และในนำ้า ประเด็นที่คาดหวังอยากให้สิทธิชุมชนศักดิ์สิทธิ์ ให้เป็นสิทธิของชุมชนจริง ๆ”

                     สถานการณ์เช่นนี้เองที่นำามาสู่ความขัดแย้งเนื่องจากชาวบ้านเห็นว่า มีการละเมิดสิทธิชุมชนของเขา
            ในรูปแบบของการใช้กฎหมาย และส่วนหนึ่งกฎหมายยังมีลักษณะการจัดการที่ทำาให้เปลี่ยนจากสิทธิชุมชน

            ที่เป็นสาธารณะมาเป็นสิทธิของปัจเจกบุคคล ทำาให้การใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นไปในลักษณะการไม่คำานึงถึง
            การแบ่งปันหรือความยั่งยืน อันเป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนความไม่เท่าเทียมกันของอำานาจระหว่างอำานาจ

            ของปัจเจกบุคคลและอำานาจของชุมชนที่ต้องการให้พื้นที่อ่าวปัตตานีเป็นพื้นที่สาธารณะที่ทุกคนมีส่วนร่วมใน
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84