Page 77 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 77
76 วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน
พื้นที่ประกอบอาชีพร่วมกัน สิทธิในการใช้พื้นที่ทำากิจกรรมร่วมกันทางศาสนา เช่น มีมัสยิดร่วมกันในการละหมาด
ในการเรียกพบปะหรือเรียนอัลกุรอ่าน
สำาหรับสิทธิชุมชนในลักษณะเชิงซ้อน ชาวบ้านเห็นว่า สิทธิในทรัพยากรธรรมชาติไม่ได้อยู่โดด ๆ แต่มี
ความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกับมิติด้านการดำารงชีวิตของคนในชุมชน และมิติทางเศรษฐทรัพย์ที่เกี่ยวพันกับอาชีพ
และความมั่นคงทางอาหารของคนทั้งในชุมชน เนื่องจากอ่าวปัตตานีมีฐานทรัพยากรร่วมกันคือ ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรนำ้า ป่าชายเลน จะเป็นทรัพยากรหลักในการดำารงชีวิตและเป็นแหล่งรายได้ให้แก่คนในชุมชน ไม่ว่า
จะเป็นอาชีพหลักคืออาชีพประมง หรืออาชีพเสริมในช่วงที่ไม่สามารถออกทะเลได้ คืออาชีพที่เกี่ยวข้องกับ
การท่องเที่ยว ชาวบ้านเล่าว่า “สามารถออกไปหาปลา เอาปลามาขายในการดำารงชีวิตไป ทรัพยากรที่นี่ไม่ว่า
จะเป็น กุ้ง หอย ปู ปลา วันหนึ่งแต่ละลำาเรือที่นี่เกือบ 100 กว่าลำา เฉลี่ยเรือเล็กวันหนึ่งมีรายได้จากการออกเรือ
400 - 500 บาทต่อวัน หากรายได้ประมาณ 500 บาทต่อวัน รายจ่ายก็ประมาณ 200 - 300 บาท” สำาหรับอาชีพ
1
เสริมของคนที่นี่ คือการท่องเที่ยว ซึ่งมีกลุ่มบูนาดารา (Buna dara) เปิดให้เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว เพื่อให้
นักท่องเที่ยวไปชมวิวดูป่าโกงกาง ดังที่สมาชิกกลุ่มบูนาดารากล่าวว่า “อุโมงค์โกงกางซึ่งเป็นอาชีพเสริม
นี่สิทธิชุมชนที่ชาวบ้านต้องช่วยกันดูแลต้องปกป้องป่าชายเลน ใครที่ไหน หรือภาครัฐจะมาก้าวก่ายเรื่องบางเรื่อง
ต้องมาคุยกับชุมชนก่อน ในชุมชนจะมีกฎกติกาของชุมชนในการอยู่ร่วมกัน”
แกนนำ�ก�รเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิชุมชนอ่�วปัตต�นี
ในขณะที่ประธานชมรมชาวประมงพื้นบ้านอ่าวปัตตานี ได้ให้ความหมายคำาว่า สิทธิชุมชน คือ สิทธิที่
ประชาชนต้องได้รับการคุ้มครองจากรัฐ (รัฐต้องช่วยเหลือ ไม่ใช่ขัดแย้งกับประชาชน) ชาวประมงพื้นบ้าน
สามารถใช้ประโยชน์จากอ่าวปัตตานีโดยไม่ถูกกีดกันจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น กลุ่มนายทุน ไม่มีการละเมิดสิทธิ
ของเราได้ และสิ่งที่บ่งบอกว่ามีสิทธิชุมชน คือ ประชาชนในพื้นที่มีสิทธิได้รับประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวปัตตานี
ไม่มีผู้ใด กลุ่มใด ๆ สามารถจับจองพื้นที่เป็นของตัวเองได้ และการกระทำาทุกอย่างที่ส่งผลกระทบต่อคนในพื้นที่
ต้องมีการรับฟังความเห็นจากประชาชนในพื้นที่
1 เดิมเป็นชื่อหมู่บ้านที่อยู่ติดกับป่าชายเลน มีประมาณ 10 หลังคาเรือน และคำาว่า “ดารา (dara)” คือชื่อ
ต้นพุทรา ภาษามลายู อ่านว่า ดารอ ต่อมาชื่อ “BUNA DARA” ได้ถูกนำามาตั้งเป็นชื่อท่าเทียบเรือและประชาชนในพื้นที่
ที่รวมตัวกัน กลุ่มนี้มีบทบาทดูแลทรัพยากรป่าชายเลน และทำาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวไป ชมวิวป่าโกงกาง
อุโมงค์โกงกาง เป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน เนื่องจากเห็นว่าการท่องเที่ยวสามารถ
เป็นอาชีพเสริมจากการทำาประมงพื้นบ้าน กลุ่มบูนาดารามีโครงสร้างองค์กรประกอบด้วย ประธาน 1 คน และรองประธาน
2 คน มีที่ปรึกษา 2 คน ได้แก่ โต๊ะอีหม่ามและผู้ใหญ่บ้าน มีเลขานุการ ประชาสัมพันธ์และกรรมการด้านต่าง ๆ ที่เป็น
ชาวบ้านในพื้นที่