Page 83 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 83

82     วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน






                     3) คณะรัฐมนตรี ควรพิจารณามอบหมายให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ประเมินผลกระทบจาก

            การบังคับใช้พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านนำ้าไทย (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2560 โดยนำาหลักการประเมินหรือ
            วิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย (Regulatory Impact Assessment: RIA) มาเป็นเครื่องมือในการ

            ประเมินหรือวิเคราะห์
                     4) กระทรวงคมนาคม ควรพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการเดินเรือในน่านนำ้าไทยให้

            สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนชายฝั่งและชุมชนริมนำ้า เนื่องจากชุมชนดังกล่าวไม่ใช่สิ่งล่วงลำ้าลำานำ้า แต่เป็น
            วิถีชีวิตของชุมชนอันได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญ โดยต้องพิจารณากำาหนดนิยามของชุมชนชายฝั่งและชุมชน

            ริมนำ้าแยกออกจากสิ่งล่วงลำ้าลำานำ้า เพื่อให้เกิดความชัดเจนและจำาแนกประเภทชุมชนดั้งเดิมออกจากการบุกรุก
            ใหม่ รวมทั้งควรกำาหนดให้มีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับชุมชนชายฝั่งและชุมชนริมนำ้าไว้เป็นการเฉพาะ (คณะกรรมการ

            สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, 2560, น. 12-13)



                     จะเห็นได้ว่าการดำาเนินการตามรัฐธรรมนูญของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้คุ้มครองสิทธิมนุษยชน
            และสิทธิชุมชนภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 57 บัญญัติไว้ว่ารัฐต้อง

                     (1) อนุรักษ์ ฟื้นฟู และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณี
            อันดีงามของท้องถิ่นและของชาติ และจัดให้มีพื้นที่สาธารณะสำาหรับกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งส่งเสริมและ

            สนับสนุนให้ประชาชน ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ใช้สิทธิและมีส่วนร่วม ในการดำาเนินการด้วย
                     (2) อนุรักษ์ คุ้มครอง บำารุงรักษา ฟื้นฟู บริหารจัดการ และใช้หรือจัดให้มีการใช้ประโยชน์จาก

            ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เกิดประโยชน์อย่างสมดุล และยั่งยืน
            โดยต้องให้ประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมดำาเนินการและได้รับประโยชน์ จากการดำาเนิน

            การดังกล่าวด้วยตามที่กฎหมายบัญญัติ และดำาเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
            มาตรา 59 บัญญัติไว้ว่า รัฐต้องเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงานของรัฐที่มิใช่

            ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐหรือเป็นความลับของทางราชการตามที่กฎหมายบัญญัติ และต้องจัดให้ประชาชน
            เข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารดังกล่าวได้โดยสะดวก



                     สิทธิชุมชนส่งผลต่อก�รพัฒน�พื้นที่

                     ความสำาคัญของการมีสิทธิชุมชน หรือชุมชนมีความเข้มแข็งในการจัดการสิทธิในชุมชนของตนเอง
            ในความคิดเห็นของประชาชน คือ หากมีสิทธิชุมชนในอ่าวปัตตานี ประชาชนจะมีสิทธิมีเสียงในการแสดง

            ความคิดเห็นต่อโครงการที่เกี่ยวข้อง มีการอนุรักษ์ทรัพยากรให้เกิดความอุดมสมบูรณ์  เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม
            และระบบนิเวศ ชาวบ้านมีความคิดเห็นว่า ฟื้นฟูทรัพยากรในทะเล เพิ่มอาชีพ เพิ่มรายได้ จะสามารถทำาให้ทำามา

            หากินในพื้นที่ส่วนรวมได้เต็มที่ เพราะถ้าพื้นที่ไหนที่มีเจ้าของก็ทำาให้เกิดความยากในการทำามาหากิน ส่งผลต่อ
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88