Page 73 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 73

72     วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน






                     อำ�น�จหน้�ที่ของคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ


                     พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 15 (1) และ (4) ได้กำาหนด
            ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) มีอำานาจหน้าที่ในการส่งเสริมการเคารพและการปฏิบัติตามหลัก

            สิทธิมนุษยชนทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ และส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้

            ด้านสิทธิมนุษยชน และมาตรา 18 (3) และ (4) ได้กำาหนดให้สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
            (สำานักงาน กสม.) มีอำานาจหน้าที่ในการศึกษาและสนับสนุนให้มีการศึกษาและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
            ประสานงานกับหน่วยราชการ องค์การเอกชน หรือองค์การอื่นในด้านสิทธิมนุษยชนในการดำาเนินการ

            เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ประกอบกับสำานักงาน กสม. ได้มีการจัดทำาบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ

            ด้านสิทธิมนุษยชน (MOU) ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่อง
            สิทธิมนุษยชนแก่บุคลากร นิสิต นักศึกษา ประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ รวมทั้งเป็นการสร้างภาคีเครือข่ายในการทำางาน
            ด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และรวบรวมข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านต่าง ๆ ในพื้นที่เพื่อ

            นำาไปสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกัน

                     ต่อมาในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560
            ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2560  ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
            ที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 ได้เพิ่มเติมอำานาจหน้าที่ของ กสม. ตามมาตรา 26 ดังต่อไปนี้

                     (1) ตรวจสอบและรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกกรณีโดยไม่

            ล่าช้า และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้ง
            การเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้อง
                     (2) จัดทำารายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศเสนอต่อรัฐสภาและ

            คณะรัฐมนตรี และเผยแพร่ต่อประชาชน

                     (3) เสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อรัฐสภา คณะ
            รัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมตลอดทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำาสั่งใด ๆ เพื่อให้
            สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน

                     (4) ชี้แจงและรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องโดยไม่ชักช้าในกรณีที่มีการรายงานสถานการณ์เกี่ยวกับ

            สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยโดยไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม
                     (5) สร้างเสริมทุกภาคส่วนของสังคมให้ตระหนักถึงความสำาคัญของสิทธิมนุษยชน
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78