Page 62 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 62

ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)  61






               ทั้งในส่วนฐานความผิดอาญา เช่น มาตรา 14 มาตรา 16 และในส่วนกลไกการปิดกั้นหรือระงับเนื้อหาตามมาตรา 20
               มีแนวโน้มไม่สอดคล้องกับเกณฑ์หลายประการ หากเปรียบเทียบกับแนววินิจฉัยของศาลต่างประเทศ กฎหมาย

               ลักษณะนี้หลายฉบับถูกศาลพิพากษาว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ในกรอบกฎหมายไทยจึงมีประเด็นโต้แย้งว่า

               บทบัญญัติของกฎหมายเหล่านี้ไม่สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน และไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 34 ประกอบ
               มาตรา 26 เนื่องจากแม้ว่าเป็นกฎหมายที่ตราขึ้น เพื่อปกป้องประโยชน์ที่ระบุไว้ เช่น ความมั่นคง ฯลฯ แต่ก็เป็น

               การจำากัดเสรีภาพเกินจำาเป็น โดยไม่สอดคล้องกับเกณฑ์สิทธิมนุษยชนที่วิเคราะห์ไว้ข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจ

               ของศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัยต่อไป โดยผู้เขียนมีข้อเสนอแนะในหลายระดับ ดังนี้
                        ข้อเสนอแนะในระดับการแก้ไขตัวบทกฎหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน เช่น

                        • จำากัดขอบเขตเนื้อหาผิดกฎหมายให้แคบ โดยพิจารณาความซำ้าซ้อนกับกฎหมายอื่นที่มีอยู่แล้ว
               ตามหลักความจำาเป็นและได้สัดส่วน เช่น เนื้อหาข้อมูลสื่อลามกเด็กมีฐานความผิดเฉพาะตามกฎหมายอาญาแล้ว

               เนื้อหาเกี่ยวกับความมั่นคงอยู่ภายใต้ฐานความผิดตามกฎหมายอาญา  เนื้อหาหมิ่นประมาทผู้อื่น

               ด้วยภาพตัดต่อ ฯลฯ ก็อยู่ภายใต้กฎหมายอาญาหมิ่นประมาท เป็นต้น จึงควรยกเลิกการกำาหนดความผิดสำาหรับ
               เนื้อหาเหล่านี้ซำ้าซ้อนในกรอบของกฎหมายความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ดังที่มีการแยกความผิดฐานหมิ่นประมาท

               ออกไปจากมาตรา 14 (1) เนื่องจากอยู่ภายใต้กฎหมายอาญาแล้ว
                        •  แก้ไของค์ประกอบความผิดในส่วนพฤติการณ์ประกอบการกระทำาตามมาตรา 14 (1) (2)

               ที่มีขอบเขตกว้าง

                        • กำาหนดมาตรการควบคุมเนื้อหาในกฎหมายฉบับเดียวกันเท่าที่จำาเป็นและจำากัดเสรีภาพน้อยที่สุด
               เช่น กำาหนดเฉพาะมาตรการปิดกั้นหรือระงับเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย โดยไม่กำาหนดโทษอาญาสำาหรับผู้เผยแพร่

               ส่งต่อเนื้อหาดังกล่าว นอกจากนี้ ยังอาจพิจารณาทางเลือกอื่น นอกจากการกำาหนดบังคับตามกฎหมาย

               เช่น การควบคุมกันเองด้วยความสมัครใจของภาคเอกชน
                        ข้อเสนอแนะในระดับก�รดำ�เนินก�รต�มกฎหม�ยขององค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ตรวจการ

               แผ่นดินและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีหน้าที่และอำานาจในการดำาเนินการเกี่ยวกับพระราชบัญญัติ

               ว่าด้วยการกระทำาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สองแนวทาง คือ แนวท�งที่หนึ่ง ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอแนะ
               ให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงดิจิทัลฯ ปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน

               (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 230 (1) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
               ว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2560 มาตรา 22 (1) และเนื่องจากเป็นกรณีที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน

               ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติดำาเนินการต่อไป พระราชบัญญัติประกอบ

               รัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2560 มาตรา 22 วรรคท้าย) แนวท�งที่สอง ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอ
               เรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่า บทบัญญัติที่กระทบเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามพระราชบัญญัตินี้
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67