Page 33 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 33

32     วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน






             เกณฑ์สำ�หรับก�รประเมินคว�มสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนของหลักกฎหม�ย

                                 ที่จำ�กัดเสรีภ�พในก�รแสดงคว�มคิดเห็น
                   ต�มพระร�ชบัญญัติว่�ด้วยก�รกระทำ�คว�มผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

                                 พ.ศ. 2550 ที่แก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560





                                 รองศ�สตร�จ�รย์ คณ�ธิป ทองรวีวงศ์     *


                                                บทคัดย่อ

                        พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่แก้ไขฉบับที่ 2
            พ.ศ. 2560 มีฐานความผิดและมาตรการอันส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งแบ่งเป็น

            สองกลุ่มหลัก คือ การกำาหนดฐานความผิดสำาหรับผู้นำาเข้าสู่ระบบและเผยแพร่ส่งต่อเนื้อหาที่ผิดกฎหมายนี้
            (มาตรา 14 - 16) และการกำาหนดมาตรการปิดกั้นหรือระงับการทำาให้แพร่หลายซึ่งเนื้อหาที่ผิดกฎหมายนี้

            และที่ผิดกฎหมายอื่น ซึ่งแบ่งเป็นการระงับการทำาให้แพร่หลายโดยผู้ให้บริการ (มาตรา 15) และการระงับ
            การทำาให้แพร่หลายโดยคำาสั่งศาล (มาตรา 20) แม้ว่าในกรอบหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
            รัฐอาจจำากัดเสรีภาพดังกล่าวได้โดยการตรากฎหมาย แต่กฎหมายดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้เกณฑ์เชิงคุณภาพ

            หรือหลักปกป้องสิทธิด้วย เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการควบคุมเนื้อหาเพื่อปกป้องประโยชน์สำาคัญ
            บางประการ เช่น ความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อย กับการคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

            อันเป็นสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน บทความนี้ศึกษากฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ
            และคำาพิพากษาศาลต่างประเทศ โดยนำามาสังเคราะห์และจำาแนกออกมาเป็นเกณฑ์การปกป้องสิทธิ 9 เกณฑ์
            เพื่อนำามาใช้ประเมินความสอดคล้องของบทบัญญัติกฎหมายตามพระราชบัญญัติดังกล่าวที่ส่งผลกระทบ

            ในการจำากัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เพื่อประเมินถึง “แนวโน้ม” ของความสอดคล้องกับหลักปกป้อง
            สิทธิมนุษยชนดังกล่าว ผลการวิเคราะห์ชี้ให้เห็นทั้งกรณีที่มีแนวโน้มสอดคล้องและกรณีที่มีแนวโน้ม
            ไม่สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน กรอบหลักการและเกณฑ์การปกป้องสิทธิในบทความนี้ สามารถนำาไปใช้

            พิจารณากฎหมายหรือร่างกฎหมายอื่นในยุคดิจิทัลที่มีหลักการจำากัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
            ทางระบบคอมพิวเตอร์ได้



            คำ�สำ�คัญ:    เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เนื้อหาผิดกฎหมาย การปิดกั้นเว็บไซต์ มาตรการปกป้องสิทธิ
            พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์




                       *    รองศาสตราจารย์ประจำาคณะนิติศาสตร์และผู้อำานวยการสถาบันกฎหมายสื่อดิจิทัล มหาวิทยาลัย
            เกษมบัณฑิตและผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิทธิพลเมือง สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38