Page 86 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 86
69
ความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรน าและชุมชน ที่ตั้งชุมชนแรกเริ่มที่บรรพบุรุษชาวชุนชนแม่
ทาเลือกตั้งถิ่นฐานนั้นเป็นชุมชนเล็ก ๆ ที่อยู่ใกล้ล้าน้้า และมีสภาพเป็นพื้นที่ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์
ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ท้าให้ชาวชุมชนแม่ทา ณ ขณะนั้นด้ารงชีพด้วยการพึ่งพิงป่า จากนั้นจึงได้
ริเริ่มจับจองพื้นที่ติดแม่น้้าเพื่อบุกเบิกพื้นที่ท้ากิน โดยเน้นการปลูกข้าวส้าหรับใช้บริโภคภายใน
ครัวเรือนเป็นหลัก ด้าเนินชีวิตด้วยความเรียบง่าย การจัดการภายในชุมชนขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ทาง
เครือญาติ และจารีตประเพณีวัฒนธรรมความเชื่อ การเคารพธรรมชาติ ซึ่งเป็นเครื่องประกันความมั่นคง
ในสิทธิการใช้ที่ดินของชุมชน (นพรัตน์ ดวงแก้วเรือน และคณะ, 2559)
ที่มาหรือสถานการณ์ปัญหาต่อการจัดการทรัพยากรน า ภายหลังการก่อตั้งชุมชนแม่ทา
จากนั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2400–2500 คนในชุมชนต้องเผชิญกับภาวะยากแค้นเนื่องจากทรัพยากรป่าไม้
โดยรอบชุมชนถูกท้าลาย จากการที่ภาครัฐได้เปิดให้มีการสัมปทานไม้บริเวณป่าขุนน้้าแม่ทา (ศูนย์วน
ศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า – ประเทศไทย, 2557) นอกจากทรัพยากรป่าไม้โดยรอบชุมชนแม่ทาจะ
ได้รับผลกระทบจากการสัมปทานป่าไม้แล้ว ยังพบว่าจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจส่งผลให้วิถีการ
ด้าเนินชีวิตของชาวชุมชนแม่ทาเปลี่ยนแปลงไป จากการเพาะปลูกเพื่อยังชีพภายในครัวเรือน
เปลี่ยนเป็นการเพาะปลูกในเชิงการค้ามากขึ้น โดยเน้นการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น ยาสูบ ถั่วลิสง และ
ข้าวโพดฝักอ่อน ซึ่งต้องใช้พื้นที่เพาะปลูกบริเวณกว้างท้าให้ต้องขยายพื้นที่เพาะปลูกด้วยการแผ้วถางป่า
หรือต้องตัดไม้จากป่ามากขึ้นเพื่อเป็นเชื้อเพลิงส้าหรับโรงบ่มใบยาสูบในชุมชน กล่าวคือ ท้าลายป่าเพื่อ
การค้า นอกจากนั้น เกษตรกรยังหันมาใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี และเครื่องจักรขนาดใหญ่ (รถไถพรวน)
ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนแม่ทาเริ่มเสื่อมโทรมลง น้ามาสู่การแย่งชิงทรัพยากรของคนใน
ชุมชน ดังนั้น อาจสรุปได้ว่า เริ่มตั้งแต่รัฐเปิดสัมปทานป่าในผืนป่าแม่ทาให้แก่นายทุนเข้ามาตัดไม้และ
คนในชุมชนเองที่ขยายพื้นที่ท้ากินเข้าไปในพื้นที่ป่าเพื่อสะสมทุนของตนให้มากขึ้น ท้าให้ในช่วงปี พ.ศ.
2534–2535 ชุมชนต้าบลแม่ทาประสบปัญหาภัยแล้ง ชาวบ้านในต้าบลแม่ทาไม่สามารถท้านาได้
เนื่องจากแหล่งต้นน้้าถูกท้าลาย (นพรัตน์ ดวงแก้วเรือน และคณะ, 2559; ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคน
กับป่า – ประเทศไทย, 2557)
แนวปฏิบัติที่ดี จากผลกระทบที่ชุมชนแม่ทาได้รับจากการที่ภาครัฐเปิดป่าให้มีการสัมปทาน
ไม้บริเวณขุนน้้าแม่ทาและการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อขยายพื้นที่เกษตรกรรมโดยคนในชุมชนเอง ส่งผลให้
ทรัพยากรธรรมชาติโดยรอบชุมชนแม่ทาเริ่มเสื่อมโทรมลง ขณะเดียวกันการท้าเกษตรเชิงเดี่ยวที่มุ่ง
ผลิตพืชเพียงชนิดเดียวด้วยการใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมีตามความเชื่อจากภายนอกที่เข้ามา ขณะที่คนแม่
ทาเองยังขาดองค์ความรู้ในการจัดการการเพาะปลูกดังกล่าว จึงเป็นการเร่งให้ทรัพยากรดิน น้้า และ
ป่าไม้ในเขตชุมชนแม่ทาถูกท้าลายเร็วยิ่งขึ้น รวมถึงการด้าเนินชีวิตของคนในชุมชนเริ่มได้รับผลกระทบ
ด้วย เพื่อความอยู่รอดเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นผู้ได้รับผลกระทบย่อมต้องแสวงหาทางออก คนในชุมชนแม่
ทาก็เช่นเดียวกันที่มีพัฒนาการและสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้ทันท่วงที