Page 52 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 52

40



                       (1) ข้อ (2) และ (8) รวมถึงการปรับปรุงข้อความส่วนอื่น ๆ ที่พบว่าผู้ทดลองตอบแบบสอบถามให้ผล
                       ป้อนกลับ ทั้งนี้เพื่อให้ข้อความที่ปรากฏในแบบสอบถามง่ายต่อความเข้าใจกับประชากรกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

                              6. ส้าหรับการออกแบบแนวค้าถามในการจัดสนทนากลุ่ม คณะผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้ข้อค้าถาม

                       จากแบบสอบถามร่วมกับข้อค้าถามที่ต้องการส้ารวจเชิงลึกเพื่อน้าไปสู่การอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อมูลใน
                       ภาพกว้างและข้อมูลเชิงลึกเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มสนทนาแต่ละกลุ่มที่มีความแตกต่างด้านบทบาทและ

                       หน้าที่ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการลุ่มน้้าของชุมชนในพื้นที่เป้าหมายของการศึกษา

                       รวมถึงแนวค้าถามเฉพาะด้านที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่มของการสนทนาซึ่งมีจ้านวน 3 กลุ่ม
                              ทั้งนี้ การจัดกลุ่มเพื่อสนทนาอภิปรายประเด็นสิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรในลุ่มน้้า

                       น่านและลุ่มน้้าชี คณะผู้วิจัยได้ค้านึงถึงการป้องกันความล้าเอียงของการเลือกปฏิบัติ โดยการไม่เน้น

                       เลือกกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือการหลีกเลี่ยงการเชิญบุคคลเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพื่อให้มีผู้เข้าร่วม
                       สนทนาที่หลากหลาย สามารถรับทราบสถานการณ์หรือปัญหาได้รอบด้าน


                       3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล

                              1. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา คือ การแจกแจงความถี่
                       และร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการ

                       วิเคราะห์สถิติอ้างอิง ได้แก่ การทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Chi-square ใน 3 คู่ ได้แก่ (1) ความรู้

                       เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและสิทธิการใช้น้้ากับความขัดแย้งด้านทรัพยากรน้้าและการแก้ปัญหาตาม
                       แนวทางสันติวิธี (2) สิทธิในการใช้น้้าในชีวิตประจ้าวันกับความขัดแย้งด้านทรัพยากรน้้าและการ

                       แก้ปัญหาตามแนวทางสันติวิธี และ (3) การบริหารจัดการแหล่งน้้าสาธารณะ/ธรรมชาติกับความ

                       ขัดแย้งด้านทรัพยากรน้้าและการแก้ปัญหาตามแนวทางสันติวิธี รวมถึงการวิเคราะห์เนื้อหา (Content
                       Analysis) จากแบบสอบถามปลายเปิด

                              2. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย ข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการสนทนากลุ่มและ

                       การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย น้ามาวิเคราะห์ในสองลักษณะคือ 1) วิเคราะห์
                       โดยการจ้าแนกข้อมูล (typologies) ด้วยการจ้าแนกค้าหลัก กล่าวคือ การจัดกลุ่มค้าเหล่านั้นให้อยู่

                       รวมกันโดยอาศัยความสัมพันธ์บางอย่างของแต่ละค้าให้มาอยู่ในกลุ่ม 2) การวิเคราะห์ข้อมูลตาม

                       เหตุการณ์หรือวิเคราะห์เหตุการณ์ตามเรื่องราว (Event analysis) โดยวิเคราะห์ตามกรอบทฤษฎี
                       หลักการ และการวิเคราะห์โดยไม่อ้างอิงทฤษฎี ซึ่งจะอาศัยสามัญส้านึกและความเชี่ยวชาญของ

                       คณะผู้วิจัยในการตีความ


                       3.6 ระยะเวลาการวิจัย

                              ระยะเวลาในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ 12 เดือน (3 กันยายน 2563 – 3 กันยายน 2564)
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57