Page 50 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 50
38
ในการสุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยด้าเนินการโดยน้ามาแยกแบ่งตามจ้านวนครัวเรือนที่กระจายกันอยู่
ตามพื้นที่ใกล้แหล่งน้้าซึ่งใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random) ตามจ้านวนหมู่ในปริมาณที่
เท่ากัน เนื่องจากกลุ่มประชากรไม่ได้มีความแตกต่างกันในด้านโครงสร้างพื้นฐาน และลักษณะการใช้น้้า
ดังนั้นจึงใช้การสุ่มแบบกลุ่มหมู่บ้านซึ่งสะดวกต่อการจัดเก็บข้อมูล จากนั้นจึงประสานกับผู้น้าชุมชน
แต่ละหมู่บ้านเพื่อขออนุญาตลงพื้นที่เก็บข้อมูล
3.2.2 การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative) ใช้กระบวนการสนทนากลุ่มย่อย (Focus
group discussion) ในพื้นที่วิจัยพื้นที่ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 8 คน ประกอบด้วยประเด็นด้านการบริหาร
จัดการน้้าด้วยแนวทางสันติวิธี การใช้เครื่องมือการปรึกษาหารือด้วยแนวทางสันติวิธีในการแก้ปัญหา
การจัดสรรทรัพยากรน้้า ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาการจัดสรรทรัพยากรน้้าด้วยแนวทาง
สันติวิธี โดยคัดเลือกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการใช้ประโยชน์ทั้งสองพื้นที่ ประกอบด้วย 3 กลุ่มหลัก
คือ กลุ่มที่หนึ่งได้แก่ชาวบ้านในพื้นที่ กลุ่มที่สองได้แก่ผู้น้าทางธรรมชาติ เช่น ผู้เฒ่าผู้แก่ ปราชญ์ชาวบ้าน
และผู้น้าทางจิตวิญญาณ และกลุ่มที่สามผู้น้าทางการ ได้แก่ ก้านัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้น้าองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้ข้อค้าถามที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้น
นอกจากนี้ การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพได้รวมวิธีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม และประชาชนผู้เกี่ยวข้องจ้านวน
รวม 50 คน เพื่อรับฟังความคิดเห็นและร่วมกันแสวงหาความเป็นไปได้ในการสร้างแนวทางการบริหาร
จัดการน้้าร่วมกัน (Co-management) อย่างเป็นระบบ รวมถึงความเกี่ยวข้องเชื่อมโยง และข้อเสนอแนะ
ต่าง ๆ ต่อนโยบาย กฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ
3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย
1. แบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลข้อมูลส่วนบุคคล ครอบครัวและสถานภาพทางสังคม
ที่อยู่อาศัยและความเป็นอยู่ ความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและการใช้น้้า ความคิดเห็นต่อสิทธิและการ
ใช้น้้าของครอบครัว ความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการแหล่งน้้าสาธารณะ/ธรรมชาติ ความคิดเห็นต่อ
ความขัดแย้งด้านทรัพยากรน้้าและการแก้ปัญหาตามแนวทางสันติวิธี
2. แนวค้าถามการสนทนากลุ่มย่อย (Focus group discussion) ประกอบด้วย ข้อค้าถามเกี่ยวกับ
สิทธิมนุษยชนในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้้าธรรมชาติ การเข้าถึงการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้้าธรรมชาติ
แนวทางเชิงนโยบายในการแสวงหาความร่วมมือในการบริหารจัดการน้้าร่วมกัน (Co-management)
ด้านปัญหาการจัดการน้้า การลดความขัดแย้งในการจัดการทรัพยากรน้้าโดยสันติวิธี เป็นต้น