Page 62 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 62

55


               ร้องและเอกสารประกอบของคนไทยพลัดถิ่นที่ประกอบไปด้วยเอกสารทางทะเบียนเกี่ยวกับถิ่นที่อยู่ ผังเครือ

               ญาติซึ่งต้องอธิบายได้ถึงความเชื่อมโยงในตัวบุคคลไร้สัญชาติกับจุดเกาะเกี่ยวในความเป็นคนไทยนั้น ต้องมี

               พยานรับรองความถูกต้องแท้จริงของเอกสารจำนวน 2 คน  ซึ่งหน่วยงานท้องถิ่นบางหน่วยจะต้องเป็นผู้นำ

               หมู่บ้านหรือผู้ที่มีความน่าเชื่อถือในหมู่บ้าน ซึ่งเงื่อนไขที่กำหนดขึ้นมาโดยหน่วยงานก่อให้เกิดความไม่แน่นอน
               ในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการพิสูจน์
                                                       72

                       อย่างไรก็ดีปัญหาการพิสูจน์ข้อเท็จจริงหรือคุณสมบัติ 3 ประการ ในการขอสถานะต่างด้าวที่ให้พยาน

               บุคคลกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือข้าราชการ เป็นผู้ลงนามรับรองหรือยืนยันความจงรักภักดีต่อประเทศไทยและ

               เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และความประพฤติของบุคคล
               ผู้ยื่นคำร้องนั้น ในสภาพแห่งความเป็นจริงอาจก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติได้ด้วย เพราะด้วยสภาพแวดล้อม

               ทางสังคมในการอยู่อาศัยแต่ละพื้นที่ของคนไร้รัฐ ไร้สัญชาตินั้นมีความแตกต่างกัน หมู่บ้านบางแห่งผู้ใหญ่บ้าน

               หรือกำนันอาจจะไม่ได้ยินยอมลงนามรับรองให้เนื่องจากไม่ได้รู้จักกันมาก่อน หรือบางครั้งอาจเป็นช่องทางที่

               ก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นหรือกระบวนการต่อรองเรียกรับผลประโยชน์ได้

                       2.5.2 ปัญหาในกระบวนการพิสูจน์และการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น ตามพระราชบัญญัติ

               สัญชาติ (ฉบับที่ 5 ) พ.ศ. 2555

                       กระบวนการพิสูจน์และการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น นับตั้งแต่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ

               สัญชาติ (ฉบับที่ 5 ) พ.ศ. 2555 จากงานศึกษาของชนน หนูทอง ในประสิทธิผลการนำนโยบายคืนสัญชาติคน

               ไทยพลัดถิ่น ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่5) พุทธศักราช 2555 ไปปฏิบัติในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัด

               ระนอง พบว่าปัจจัยในการนำนโยบายการคืนสัญชาติไปปฏิบัติ อำเภอเมือง จังหวัดระนอง ในภาพรวมนั้นมีการ
               นำไปปฏิบัติอยู่ระดับน้อย   ซึ่งสอดคล้องกับงานศึกษาของเสาวนีย์ แก้วจุลกาญจน์และวิศรุต สำลีอ่อน ในการ
                                    73
               ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่คนไทยพลัดถิ่นให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่คนไทยพลัดถิ่นผ่านความ

               ร่วมมือพหุภาคีระหว่างภาครัฐองค์กรวิชาการและภาคประชาสังคม ในพื้นที่จังหวัดระนองและประจวบคีรีขันธ์

               พบเหตุข้อจำกัดและอุปสรรคหลายประการที่ส่งผลให้คนไทยพลัดถิ่นที่ได้ยื่นคำขอพิสูจน์และรับรองความเป็น















               72  อ้างแล้ว, เสาวนีย์ แก้วจุลกาญจน์ และวิศรุต สำลีอ่อน
               73  ชนน หนูทอง, ประสิทธิผลการนำนโยบายคืนสัญชาติคนไทยพลัดถิ่น ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่5)

               พุทธศักราช 2555 ไปปฏิบัติในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดระนอง , (วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
               บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด, 2560)
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67