Page 63 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 63

56


               ไทยยังคงไม่ได้รับสัญชาติไทยอีกเป็นจำนวนมาก อันเป็นเหตุให้กระบวนการได้สัญชาติไทยของกลุ่มคนไทย

                                         74
               พลัดถิ่นค่อนข้างล่าช้า กล่าวคือ

                       1. ปัญหาเรื่องการขาดความเป็นเอกภาพในตัวเอกสารพิสูจน์ตัวบุคคล เนื่องจากมีการนำแบบบันทึก
               ปากคำ ( ปค.14 ) ของกรมการปกครองไปปรับใช้ตามความเหมาะสม ซึ่งการเปิดช่องให้ทำการสอบหา

               ข้อเท็จจริงในรายละเอียดของบุคคลดังกล่าว ส่งผลให้แบบในการสอบสวนพิสูจน์บุคคลของคนไทยพลัดถิ่นมี

               ลักษณะแตกต่างกันไป ขาดความเป็นเอกภาพในแง่รูปแบบและขึ้นอยู่ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองระดับ

               เขต  เช่นนายอำเภอ ปลัดอำเภอที่รับผิดชอบในพื้นที่ดังกล่าว

                       สะท้อนให้เห็นจากการลงพื้นที่ปฏิบัติงานตามบันทึกข้อตกลงพหุภาคี เพื่อแก้ไขปัญหาความล่าช้าใน

               กระบวนการพิสูจน์และรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น กล่าวคือแบบบันทึกปากคำ (ป.ค.14)  แม้ทางการ

               ปกครองจะได้มีแนวทางระบุข้อคำถามพื้นฐานสำหรับการสอบปากคำที่จะต้องปรากฏอยู่ในแบบฟอร์ม แต่

               อย่างไรก็ดีในแต่ละท้องที่สามารถปรับเปลี่ยนรายละเอียดคำถามได้ เช่น พื้นที่อำเภอเมืองระนองแบบป.ค. 14

               จะเป็นลักษณะที่ให้เจ้าพนักงานเป็นผู้ถามคำถามแล้วให้เจ้าพนักงานเป็นผู้จดบันทึกคำตอบ ส่วนพื้นที่จังหวัด

               ประจวบคีรีขันธ์แบบป.ค. 14 จะมีข้อคำถามที่ให้เจ้าพนักงานเป็นผู้บันทึกข้อมูลโดยการทำเครื่องหมายหน้า

               กล่องข้อความที่ตรงกับคำตอบที่ได้จึงทำให้รายละเอียดของเนื้อหาเอกสารในแต่พื้นที่มีความแตกต่างกัน บาง
               แห่งมีข้อคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพิสูจน์และรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นส่งผลให้การ

               ปฏิบัติงานของนิสิตนักศึกษาค่อนข้างจะลำบากและขาดความเป็นเอกภาพ


                       2. ปัญหาเจ้าหน้าที่ของฝ่ายปกครองที่มีจำนวนไม่เพียงพอในการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญ

               ต่อกระบวนการพิสูจน์สัญชาติของกลุ่มคนไทยพลัดถิ่น อีกทั้งยังพบปัญหาความต่อเนื่องของบุคลากรในการ
               ปฏิบัติหน้าที่ประจำท้องที่ เนื่องจากประเด็นปัญหาเรื่องการให้สัญชาติค่อนข้างเป็นประเด็นที่มีความ

               ละเอียดอ่อนทำให้การพิจารณาคำขอแต่ละราย เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองโดยเฉพาะปลัดอำเภอที่ได้รับมอบ

               อำนาจจากนายอำเภอให้เป็นผู้รับคำขอและพิจารณาในชั้นต้น จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบมาก  และเมื่อมี

               การปรับย้ายท้องที่ปฏิบัติงานของปลัดอำเภอแต่ละคน ปลัดอำเภอที่เข้ามารับตำแหน่งใหม่ก็มักจะเริ่มต้น

               พิจารณาคำขอที่ค้างพิจารณาจากปลัดอำเภอคนก่อนใหม่ทั้งหมด เนื่องจากปลัดอำเภออาจต้องรับผิดทางวินัย
               หากลงชื่อรับรองให้แก่คำขอรายใดแล้ว ต่อมาภายหลังปรากฏว่ามีการสวมสิทธิหรือเป็นผู้ไม่มีสิทธิยื่นคำขอโดย

               ประการอื่น








               74  เสาวนีย์ แก้วจุลกาญจน์ และวิศรุต สำลีอ่อน, การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่คนไทยพลัดถิ่นผ่านความร่วมมือพหุ

               ภาคีระหว่างภาครัฐองค์กรวิชาการและภาคประชาสังคม: กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดระนองและประจวบคีรีขันธ์, วารสารนิติ
               สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 9, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559): น.104-135
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68