Page 57 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 57
50
ว่าเป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง ต่อมาหน่วยงานความมั่นคงพบว่าในบรรดาผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าที่สำรวจจัดทำ
ทะเบียนไว้มีผู้ที่มีเชื้อสายไทยปะปนอยู่ด้วย จึงได้ทำการสำรวจและจัดทำทะเบียนกลุ่มที่มีเชื้อสายไทยแยกออก
จากกลุ่มเดิม เรียกว่าผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทย
กลุ่มที่สอง กลุ่มผู้อพยพเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา หมายถึง กลุ่มคนไทยที่
อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดเกาะกง หรือจังหวัดประจันตคีรีเขตซึ่งมีพื้นที่ติดกับจังหวัดตราด ซึ่งเดิมเป็นดินแดนของ
ประเทศไทย ต่อมาราวพุทธศักราช 2477 สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยเกิดข้อพิพาทกับประเทศฝรั่งเศสที่ยึดครองประเทศลาวและกัมพูชา ดินแดนส่วนนี้จึง
ตกเป็นของประเทศฝรั่งเศส และต่อมาเมื่อประเทศฝรั่งเศสให้เอกราชแก่กัมพูชา จังหวัดเกาะกงจึงตกเป็นของ
ประเทศกัมพูชา ทำให้คนไทยที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเกาะกงและไม่ได้อพยพกลับเข้ามาในดินแดนไทยในช่วงเวลา
ดังกล่าว ต้องกลายเป็นคนในบังคับของประเทศอินโดจีนฝรั่งเศสและประเทศกัมพูชา ต่อมาในปี 2517
ประเทศกัมพูชาถูกประเทศเวียดนามยึดครองและมีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง รวมถึงมีการ
ปราบปรามประชาชนอย่างรุนแรง คนไทยกลุ่มดังกล่าวจึงได้อพยพหนีภัยเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยใน
พื้นที่จังหวัดตราด โดยทางราชการไทยถือเอาวันที่ 15 พฤศจิกายน 2520 เป็นวันสุดท้ายของการรับผู้อพยพ
เชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกง ให้อพยพเข้ามาในประเทศไทยในฐานะผู้อพยพ ส่วนผู้ที่เข้ามาหลังจากนั้น จะ
ถือว่าเป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง
60
ฉะนั้น กลุ่มคนไทยพลัดถิ่นที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย จึงประกอบไปด้วยกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นที่
ถือบัตรคนไทยพลัดถิ่นโดยได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นการชั่วคราว และกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นที่
ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนหรือเอกสารใด ๆ บางคนไม่เคยแสดงตัวเมื่อรัฐบาลให้มีการสำรวจหรือบางคนตก
61
สำรวจ ซึ่งทางราชการไทยถือว่ากลุ่มไทยพลัดถิ่นนั้นไม่ใช่พม่า และมีมติคณะรัฐมนตรีให้สัญชาติไทยโดยการ
62
แปลงสัญชาติ แต่ในขณะเดียวกันการแก้ไขปัญหาด้วยวิธี “การแปลงสัญชาติ” ได้ส่งผลกระทบต่อความรู้สึก
ในเรื่องของจิตสำนึกความเป็นคนไทยแล้ว ยังส่งผลต่อสิทธิต่าง ๆ ในด้านการดำรงชีพในชีวิตประจำวันด้วย
เนื่องจากการได้สัญชาติภายหลังการเกิด จะไม่สามารถประกอบอาชีพบางอย่างที่มีข้อกำหนดว่าต้องเป็นบุคคล
ที่มีสัญชาติไทยด้วยการเกิดเท่านั้น เช่น ข้าราชการด้านความมั่นคง ทนายความ รวมถึงไม่สามารถเป็นผู้สมัคร
รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนทางการเมืองได้ในการเลือกตั้งทุกระดับ นับตั้งแต่ผู้ใหญ่บ้านไปจนถึงการเลือกตั้ง
ระดับชาติ อีกทั้งในการใช้สิทธิเลือกตั้งหากได้รับสัญชาติไทยโดยการสมรส จะมีสิทธิเลือกตั้งทันทีหลังจาก
60 อ้างแล้ว,วีนัส สีสุข, ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุลและกรกนก วัฒนภูมิ
61 มนต์ชัย ผ่องศิริและมณีมัย ทองอยู่, คนเข้าเมืองทั่วไปหรือคนไทยพลัดถิ่น?: การต่อรองนิยามตัวตนของไทยพลัดถิ่นใน
สังคมไทย, วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง 9, 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2556): น.15
62 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 ประกอบหนังสือกระทรวงมหาดไทย ลับ ที่ มท.0204.3/2311) ลง
วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 เรื่อง การพิจารณาแปลงสัญชาติไทยแก่ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทย