Page 59 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 59

52


               พลัดถิ่นส่วนใหญ่ต้องการได้สัญชาติไทยโดยการคืนสัญชาติ จึงไม่มายื่นคำร้องขอแปลงสัญชาติ ทั้งนี้ยังพบ

               ปัญหาอีกว่ามีกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นบางรายไปขึ้นทะเบียนเป็นแรงงานต่างด้าว ทำให้ไม่สามารถยื่นคำขอแปลง

               สัญชาติได้ หรือกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นบางส่วนได้รับการสำรวจ เพื่อจัดทำบัตรประจำตัวบุคคลที่มีสถานะทะเบียน

                                                          67
               แล้วแต่ยังไม่ได้รับการเรียกไปถ่ายรูปและจัดทำบัตร  นอกจากปัญหาเรื่องความล่าช้าและเรื่องเอกสารที่ใช้ใน
               การขอขึ้นทะเบียนแล้ว ในงานศึกษาวิเคราะห์ขั้นตอนการขอลงรายการสัญชาติไทยของชนกลุ่มน้อยของปรีชา

               พล พูลทวี ยังพบว่าขั้นตอนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ในการขอลงรายการสัญชาติไทยมีอยู่ 3 ขั้นตอน

               กล่าวคือขั้นตอนแรก การยื่นคำร้อง หากตรวจสอบหลักฐานเอกสารที่นำมาประกอบครบถ้วนตามที่กฎหมาย

               กำหนดแล้ว เจ้าหน้าที่จะต้องรับคำขอดังกล่าวเพื่อนำมาเข้าสู่กระบวนการพิจารณา หากเจ้าหน้าที่ไม่เปิด

               โอกาสให้บุคคลได้ใช้สิทธิในการยื่นคำร้อง หรือปฏิเสธคำร้องโดยไม่มีเหตุผลถือว่าเป็นการปฏิบัติไม่เป็นธรรม
               และเป็นการปฏิบัติโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย  ขั้นตอนที่สอง การพิจารณาของนายทะเบียนจากการศึกษาพบว่า

               นายทะเบียนอำเภอเพิ่มขั้นตอนการปฏิบัติที่ไม่ได้กำหนดไว้ตามหลักเกณฑ์ อีกทั้งมีการพิจารณาเงื่อนไขของ

               บุคคลเป้าหมายผิดพลาด ทำให้บุคคลที่ยื่นคำขอได้รับการพิจารณาอนุมัติอย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งการพิจารณาที่

               ผิดพลาดไม่ถูกต้องตามขั้นตอนย่อมส่งผลกระทบต่อการพิจารณาของนายอำเภอ และขั้นตอนที่สาม คือ

               ขั้นตอนการพิจารณาของนายอำเภอ ซึ่งจากการศึกษาพบว่านายอำเภอยังคงใช้ดุลพินิจเพิ่มเติม เช่นการแต่งตั้ง

               คณะกรรมการกลั่นกรอง เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในการประกอบการตัดสินใจใช้ดุลพินิจว่าจะอนุมัติหรือไม่อนุมัติ
               ทั้งนี้การใช้ดุลพินิจจะต้องเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด และไม่มีการปฏิบัติงานนอกเหนือจากขั้นตอนที่

               กำหนด  สุดท้ายในเรื่องของการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐพบว่าการใช้ดุลพินิจภายใต้เงื่อนไขที่มีความ

               แตกต่างกันจึงส่งผลให้การพิจารณาอนุมัติไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และทำให้เกิดข้อสงสัยต่อการใช้ดุลพินิจและ

               อาจเป็นเหตุให้เกิดการทุจริตเกิดขึ้นตามมา และการปฏิบัตินอกเหนือจากกฎหมายกำหนดย่อมส่งผลให้เกิดการ

               ร้องเรียนหรือขอความเป็นธรรมต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและอาจนำมาสู่การดำเนินการพิจารณาคดีทาง

                           68
               ปกครองต่อไป
                       อย่างไรก็ดีจากผลการศึกษาข้างต้น กล่าวได้ว่าในการแก้ไขปัญหาสถานะทางกฎหมายของคนไร้รัฐ ไร้

               สัญชาติ โดยเฉพาะกรณีของคนไทยพลัดถิ่นไม่เพียงแต่ต้องพบเจอกับอุปสรรคด้านระยะเวลาในการดำเนินการ

               เท่านั้น แต่ยังต้องเผชิญกับจิตสำนึกของความเป็นคนไทยที่ไม่ควรได้รับสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ

               เพราะพวกเขาเป็นคนไทยอยู่แล้วทำให้การแปลงสัญชาติไม่ได้รับการตอบรับจากกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นเท่าที่ควร
               ซึ่งทำให้ในทางปฏิบัติการแก้ไขปัญหาจึงไม่ประสบความสำเร็จ และส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาในระยะต่อมาได้

               โดยเฉพาะในด้านของหลักฐานในการพิสูจน์ตัวตน เช่นการขึ้นทะเบียนเป็นแรงงานต่างด้าวก่อนจึงทำให้ไม่มี




               67  อ้างแล้ว, สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สำนักกรรมาธิการ 3, น.26-31

               68  ปรีชาพล พูลทวี, วิเคราะห์ขั้นตอนการขอลงรายบการสัญชาติไทยของชนกลุ่มน้อย, (การค้นคว้าแบบอิสระหลักสูตร
               ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2553), น.113-127
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64