Page 64 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 64
57
ทั้งนี้จากการลงพื้นที่ปฏิบัติงานตามบันทึกข้อตกลงพหุภาคี โดยการนำนิสิตนักศึกษาเข้าไปช่วยเหลือ
งานเพื่ออำนวยความสะดวกและช่วยเหลือเจ้าหน้าที่กรมการปกครอง ในประเด็นเรื่องการดำเนินการแก้ไข
ปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลโดยเฉพาะกลุ่มคนไทยพลัดถิ่น ยังพบว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองฝ่าย
ปฏิบัติการขาดความเชื่อมั่นในความสามารถของนิสิต/นักศึกษาที่ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองมีความเห็น
ว่าระยะเวลาในการฝึกอบรมสอบแบบปากคำของนิสิต/นักศึกษามีระยะเวลาสั้นเกินไป จึงเกรงว่าอาจเกิด
ปัญหาการสอบปากคำมีความไม่ละเอียดรอบคอบ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน
ฝ่ายปกครองในประเด็นความรับผิดทางกฎหมาย
อย่างไรก็ดีนอกจากปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการพิสูจน์และการรับรอง
ความเป็นคนไทยพลัดถิ่นแล้วยังพบปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อความล่าช้าอีกด้วย อาทิ การนัดคิวในบางอำเภอที่ทำ
ได้ยาก บางพื้นที่อ้างว่าเอกสารไม่พร้อม แต่เมื่อไปขอดูเอกสารก็บอกว่าหายไป หรือกรณีปัญหาของบุคคลที่ถูก
จำหน่ายชื่อออก ทั้ง ๆ ที่ได้ดำเนินการตามกระบวนการอย่างถูกต้อง และเมื่อขอคืนสภาพ กลับมีข้ออ้างว่า
เอกสารบางส่วนถูกน้ำท่วมและสูญหายไปแล้ว บางส่วนเมื่อยื่นไปแล้วก็ได้แต่รอเพราะยังไม่ถึงคิว ขณะที่
บางส่วนจดทะเบียนผิดกลุ่ม ขณะที่บางกลุ่มยังไม่ได้มีการบันทึก บางกลุ่มเป็นนักเรียนที่มีพ่อแม่ไทยแต่เสียชีวิต
75
ไปแล้ว เป็นต้น
2.5.3 ปัญหาทางข้อเท็จจริงในการไม่มีสถานะทางทะเบียนของคนไร้สัญชาติ
จากปัญหาข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการได้มาซึ่งสัญชาติไทยของคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ
ซึ่งรวมถึงกรณีคนไทยพลัดถิ่นนั้น กล่าวได้ว่านอกเหนือไปจากขั้นตอนทางกฎหมายและในทางปฏิบัติของ
เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานแล้ว ปัญหาการไม่มีสถานะทางทะเบียนนั้น ส่งผลต่อกระบวนการพิสูจน์และการรับรอง
ความเป็นคนไทยพลัดถิ่น และยังก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสิทธิต่างๆ ของบุคคลด้วย อาทิ สิทธิในการทำงาน
สิทธิในหลักประกันสุขภาพ สิทธิในการศึกษา สิทธิในการเดินทาง สิทธิในการก่อตั้งครอบครัว ที่อยู่อาศัย ที่ทำ
กิน เป็นต้น ซึ่งปัญหาหลักที่พบคือ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบยังไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารและเป็นบุคคลที่
ละเลยสิทธิของตนเอง ทำให้เสียโอกาสในเรื่องของสิทธิที่ควรจะได้รับ เช่น การไม่ไปแสดงตัวเมื่อรัฐบาลจัดให้มี
การสำรวจหรือบางคนตกสำรวจ เป็นต้น
นอกจากนี้ความไร้สัญชาติของบุคคล ยังมีสาเหตุมาจากอคติซึ่งหมายความถึงการไม่ให้เวลาที่จะทำ
ความเข้าใจปัญหา ก็ถือเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนหลายคนตกเป็นคนไร้สัญชาติ รวมถึงอคติเกี่ยวกับแนวคิด
แบบอนุรักษ์นิยมของนักการเมือง นักวิชาการและข้าราชการบางส่วนที่คิดว่า ความถูกต้องคือการทำ
เหมือนเดิม อย่างเช่น กรณีการแก้ไขปัญหาของคนไทยพลัดถิ่นที่ทำมาตั้งแต่พ.ศ. 2526 ไม่ประสบความสำเร็จ
เลยก็ไม่ยอมเปลี่ยนวิธีการที่ใช้อยู่ การแก้ไขปัญหาความไร้สัญชาติหน่วยงานของรัฐฝ่ายความมั่นคงไม่ลำบาก
75 สยามรัฐ, เครือข่ายไทยพลัดถิ่นจี้รัฐแก้ปัญหาคืนสัญชาติ, เว็บไซต์ https://siamrath.co.th/n/134385 , สืบค้นวันที่ 21
ตุลาคม 2564