Page 67 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 67

60


                                                 บทที่  3 ระเบียบวิธีวิจัย

                         โครงการจัดทำข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ตาม

               พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5 ) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยการศึกษาครั้งนี้

               จำเป็นที่ต้องทำความเข้าใจถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานด้านสัญชาติต่อคนไทยพลัดถิ่น โดยมี

               ระเบียบวิธีวิจัย ดังนี้

               3.1 รูปแบบการวิจัย

                       การศึกษาครั้งนี้ได้ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)   โดยมุ่งอธิบายปัญหา

               อุปสรรค และข้อท้าทายในการดำเนินการพิสูจน์และการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น ตามพระราชบัญญัติ

               สัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 และกฎกระทรวงการพิสูจน์และการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น พ.ศ.

               2555  ตลอดจนแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเน้นการศึกษาแบบเจาะลึก ผ่านกรณีกลุ่มตัวอย่าง

               (Case study)  ซึ่งเป็นคนไทยพลัดถิ่นที่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทยในพื้นที่ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

               ระนอง ชุมพร และพังงา  รวมถึงผู้ปฏิบัติงานในระดับปฏิบัติการและวางนโยบายการคืนสัญชาติให้กับกลุ่มคน
               ไทยพลัดถิ่นได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอ จังหวัด กรมการปกครองและสภาความมั่นคงแห่งชาติ

               โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ  เพื่อสำรวจประเด็นปัญหาและ

               อุปสรรคในการดำเนินการพิสูจน์และการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น  การจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus

               group) เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบข้อมูล ข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไขปัญหาจากการสนทนา

               กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูล  รวมถึงจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop)  เพื่อสร้างความเข้าใจต่อผลการวิจัย
               และรับฟังความเห็นเพิ่มเติม/ข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง


               3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
                       ในการเก็บข้อมูลประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการโดยวิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบ

               เฉพาะเจาะจงและด้วยความสมัครใจ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ดังนี้

                          กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย                     กลุ่มเป้าหมาย

                 กลุ่มที่ 1 กลุ่มคนไทยพลัดถิ่น    กลุ่มคนไทยพลัดถิ่นที่ยังไม่รับการคืนสัญชาติไทย อันประกอบไป
                                              ด้วยกลุ่มผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอพิสูจน์และการรับรองความเป็นคนไทย

                                              พลัดถิ่น กลุ่มบันทึกผิดหลง กลุ่มถูกจำหน่าย กลุ่มรอบันทึกรายการ

                                              กลุ่มเด็กนักเรียน กลุ่มตามมาตรา 7 ทวิวรรคสอง กลุ่มตกสำรวจ
                                              กล่าวคือ

                                                  -  ตัวแทนคนไทยพลัดถิ่นในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
                                                     ได้แก่ ชุมชนคลองลอย  ชุมชนไร่เครา อำเภอเมือง
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72