Page 58 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 58
51
ประกาศราชกิจจานุเบกษาแล้ว ในขณะที่การได้รับสัญชาติโดยการแปลงสัญชาติต้องได้รับสัญชาติไทยมาแล้ว
63
ไม่น้อยกว่า 5 ปีจึงจะสามารถใช้สิทธิของตนได้ ตลอดจนปัญหาการถูกละเมิดสิทธิต่างๆ เช่น การถูกจับกุม
เมื่อไปทำงาน ถูกเรียกเก็บเงิน ขาดสิทธิในการเดินทาง สิทธิทางการศึกษา สิทธิในการรักษาพยาบาล เป็นต้น
64
อย่างไรก็ดี แม้ว่าในอดีตรัฐบาลไทยเคยดำเนินการจัดทำทะเบียนประวัติและบัตรประจำตัวให้คน
ไทยพลัดถิ่นที่อพยพกลับมายังประเทศไทย โดยนิยามว่าเป็น “ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทย” และ
กระทรวงมหาดไทยก็มีการออกนโยบายแปลงสัญชาติแก่คนไทยพลัดถิ่นแล้วก็ตาม แต่คนไทยพลัดถิ่นยังคง
ต่อสู้และมีข้อเรียกร้องว่าการกลับมามีสัญชาติไทยของพวกเขาไม่ควรใช้วิธีการแปลงสัญชาติ เพราะพวกเขา
เป็นคนไทยอยู่แล้ว จนกระทั่งในปี 2555 รัฐบาลจึงได้มีการประกาศให้ “คืนสัญชาติไทย” ให้แก่คนไทยพลัด
ถิ่นไว้ในพระราชบัญญัติสัญชาติไทย ฉบับที่ 5 พ.ศ.2555 โดยคนไทยพลัดถิ่นจะต้องยื่นคำร้องเพื่อเข้าสู่
65
กระบวนการขอรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น ซึ่งนับตั้งแต่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสัญชาติไทย
ฉบับที่ 5 พ.ศ.2555 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2555 พบว่าในทางปฏิบัติการขอรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น
เป็นไปด้วยความล่าช้าในกระบวนการขอคืนสิทธิ คืนสัญชาติ ซึ่งส่งผลต่อโอกาสในการพัฒนาชีวิตของคนไทย
พลัดถิ่นโดยตรง
2.5.1 ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการได้มาซึ่งสัญชาติไทย
จากแนวนโยบายในอดีตในการแก้ไขปัญหาสถานะความไร้สัญชาติของคนไทยพลัดถิ่นเชื้อสายไทย
โดยการแปลงสัญชาตินั้น พบปัญหาเกี่ยวกับสถานะของกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นในการขอคืนสัญชาติไทย โดยติด
ปัญหาความล่าช้าในการดำเนินการลงรายการสัญชาติตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 ซึ่งปัญหา
66
สำคัญมีอยู่ด้วยกัน 2 ประการ คือ 1) ความล่าช้าในขั้นตอนการประกาศในราชกิจจานุเบกษา 2) กลุ่มคนไทย
63 มนต์ชัย ผ่องศิริ, ไทยพลัดถิ่นในสังคมไทยกับการสะสมทุนการเมือง, วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์,1 (มกราคม-
มิถุนายน 2560): น.118-121
64 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน,(2558), ปฏิรูปกระบวนการแก้ปัญหา “คืนสัญชาติ คืนศักดิ์ศรี คืนมาตุภูมิ” ให้คนไทยพลัด
ถิ่น, เว็บไซต์ https://ref.codi.or.th/2015-08-04-11-01-52/12718-2015-02-16-10-27-36, สืบค้นวันที่ 20 ตุลาคม 2564
65 องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย, ชีวิตที่ไม่มีใครเห็น 48 ปี สถานการณ์เด็กไร้สัญชาติในประเทศไทย, เว็บไซต์
https://www.unicef.org/thailand/ , สืบค้นวันที่ 20 ตุลาคม 2564
66 การลงรายการสัญชาติตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 บัญญัติให้บุคคลที่เคยมีสัญชาติ
ไทย เพราะเกิดในราชอาณาจักรแต่ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 และผู้ที่เกิดในราชอาณาจักร
ไทยแต่ไม่มีสัญชาติไทย ตามประกาศข้อ 2 รวมถึงบุตรของบุคคลดังกล่าวที่เกิดในราชอาณาจักรไทยก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้
ใช้บังคับ (เกิดก่อนวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551) และไม่มีสัญชาติไทยตามมาตรา 7 ทวิวรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ
พ.ศ. 2508 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 หากปรากฏว่าผู้นั้นอาศัยอยู่ในประเทศไทยติดต่อกันโดยมีหลักฐานทาง
ทะเบียนราษฎร และมีความประพฤติดีหรือทำประโยชน์ให้สังคมหรือประเทศ ให้ผู้มีคุณสมบัติดังกล่าว ยื่นคำขอลงรายการ
สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎรที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนา เมื่อพ้นกำหนดเวลา 90 วันนับแต่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับคือตั้งแต่วันที่ 28
พฤษภาคม 2551 เป็นต้นไป