Page 61 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 61

54


               กระทรวงมหาดไทย เรื่องให้สถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแก่บุคคลที่อพยพเข้ามาใน

               ราชอาณาจักรไทย และอาศัยอยู่มานานตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522

                       (5) กรณีข้อกฎหมายที่กำหนดรับรองสิทธินั้นอาจขัดต่อความชอบด้วยการกระทำทางปกครอง เช่น

               กรณีกฎกระทรวงการพิสูจน์และการรับรองความเป็นไทยพลัดถิ่น พ.ศ.2555 ระบุว่า พยานที่จะมารับรอง

               แผนผังเครือญาติของผู้ยื่นคำร้องขอพิสูจน์ความเป็นคนไทยพลัดถิ่นนั้น “จะต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย

                            71
               จำนวน 2 คน”

                       (6) กรณีข้อกฎหมายที่กำหนดรับรองสิทธินั้นอาจขัดต่อความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ได้แก่ กรณี พ.ร.บ.
               ชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 ที่มีบทบัญญัติกำหนดรับรองให้ความสามารถของบุคคลที่จะมีชื่อตัว ชื่อสกุล หรือการ

               เปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อรอง หรือการจดทะเบียนตั้งชื่อสกุล หรือการเปลี่ยนนามสกุลนั้นเป็นสิทธิของบุคคลผู้มี

               สัญชาติไทยเท่านั้น


                       (7) ปัญหาการขาดข้อกฎหมายที่กำหนดรับรองสิทธิ  อาทิ กรณีความล่าช้าในการออกกฎกระทรวง
               ภายใต้มาตรา 7 ทวิวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2508 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 และฉบับที่

               4 พ.ศ.2551  หรือการขาดหลักเกณฑ์การพิสูจน์ความเป็นคนไทยพลัดถิ่นสำหรับคนไทยพลัดถิ่นที่ปรากฏตัวใน

               อำเภอแม่สอดจังหวัดตาก และที่จังหวัดพะเยา ว่าเข้าเงื่อนไขคุณสมบัติของคนไทยพลัดถิ่นหรือคนดั้งเดิมตาม

               มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2508 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 และที่ 3 พ.ศ. 2535 ฉบับที่ 4 พ.ศ.2551

               และฉบับที่ 5 พ.ศ.2555

                       (8) ปัญหาการพิสูจน์ข้อเท็จจริง เนื่องจากสิทธิในสถานะบุคคลตามกฎหมายบางประเภทจำเป็นต้อง

               พิสูจน์ถึงการมีอยู่ของข้อเท็จจริงอื่นๆ ด้วยเพราะกฎหมายกำหนดคุณสมบัติ เงื่อนไขอื่น ๆ ประกอบความเป็น

               บุคคลไว้ เช่น ประเด็นการพิสูจน์ความเป็น “คนไทยพลัดถิ่น” และ “คนเชื้อสายไทย” ซึ่งเป็นประเด็นสืบเนื่อง

               กับการพิสูจน์ข้อกฎหมาย คือมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 ฉบับที่
               3 พ.ศ. 2535 ฉบับที่ 4 พ.ศ.2551 และฉบับที่ 5 พ.ศ.2555  ประเด็นการพิสูจน์ความสัมพันธ์ระหว่างบิดา-บุตร

               ซึ่งเป็นประเด็นสืบเนื่องจากการพิสูจน์ข้อกฎหมาย ในเรื่องของการรับฟังและชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในการ

               พิสูจน์ความสัมพันธ์ระหว่างบิดาและบุตร  และประเด็นการพิสูจน์การมีอยู่ของข้อเท็จจริง หรือคุณสมบัติ 3

               ประการในการขอสถานะต่างด้าว ได้แก่ การไม่มีสัญชาติของประเทศอื่น กรณีมีความจงรักภักดีต่อประเทศไทย

               และเลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และกรณีมีความประพฤติ

               ดีและไม่มีพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศไทย ซึ่งสำนักทะเบียนราษฎรมักกำหนดทางปฏิบัติให้

               พยานบุคคลคือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือข้าราชการ เป็นผู้ลงนามรับรองหรือยืนยัน อย่างเช่นในกรณีการยื่นคำ


               71  กฎระทรวงการพิสูจน์และการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น พ.ศ. 2555 ข้อ 2(3)
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66