Page 60 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 60

53


               สิทธิยื่นขอแปลงสัญชาติ ทั้งนี้ในทางกฎหมายเกี่ยวกับการได้มาซึ่งสัญชาติไทยในงานศึกษาแนวคิดทาง

               กฎหมายในการพิสูจน์และการพัฒนาสิทธิในสถานะบุคคลตามกฎหมายของดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล  ยังพบ

                                                                                           69
               ปัญหาการพิสูจน์สิทธิในสถานะบุคคลตามกฎหมายทั้งในแง่ข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงมีดังนี้
                       (1) ปัญหาการพิสูจน์สิทธิที่เกิดจากทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ทะเบียนราษฎรในการรับฟัง

               พยานหลักฐานในระหว่างกระบวนการพิสูจน์สิทธิ  ได้แก่กรณี “พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือ” ที่ถูกกำหนดและ

               ตีความในทางปฏิบัติโดยเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานทะเบียนราษฎรจำนวนไม่น้อยว่าหมายถึง “ผู้มีสัญชาติไทย”

               หรือ “เป็นข้าราชการ” ทั้ง ๆ ที่ไม่มีกฎหมายฉบับใดกำหนดไว้  หรือกรณีการให้ความสำคัญกับ “ผลดีเอ็นเอ”

               ในฐานะพยานหลักฐานลำดับแรก ทำให้หลายกรณีได้กลายเป็นพยานหลักฐานชนิดเดียวเพื่อยืนยันพิสูจน์ถึง
               ความสัมพันธ์ระหว่างบุตรและบิดาผู้มีสัญชาติไทย


                       (2) ปัญหาการพิสูจน์สิทธิในสถานะบุคคล ที่เกิดจากกฎหมายที่กำหนดรับรองสิทธิที่มีอยู่ แต่ขาดความ

               ชัดเจนในทางปฏิบัติ เช่น กรณีการมีสัญชาติไทยโดยคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามมาตรา 7 ทวิ

               วรรคสอง พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508  แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2555 และฉบับที่ 4 พ.ศ.2551 ควร
               ถูกถือว่าเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด โดยหลักดินแดนหรือไม่อย่างไร


                       (3) ปัญหาที่เกิดจากกฎหมายที่กำหนดรับรองสิทธินั้น มีเนื้อหาที่ไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมายทั่วไป

               เช่น หลักเกณฑ์ที่กำหนดให้พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือที่สามารถยืนยันถึงการมิได้ถือสัญชาติของประเทศอื่นของ

                                                                                                    70
               บุคคลหนึ่ง ๆ ตามกฎกระทรวงการพิสูจน์และการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น พ.ศ. 2555 ข้อ 2 (5)
                       (4) ปัญหาที่เกิดจากกฎหมายที่กำหนดรับรองสิทธินั้น ถูกปรับใช้ไปในเชิง “ยกเว้น” ความทรงสิทธิ

               ของผู้มีปัญหาสถานะบุคคลบางกลุ่ม เช่น กรณีชนกลุ่มน้อยที่ตกหล่นการสำรวจบัตรชนกลุ่มน้อย ซึ่งเป็นกลุ่มที่

               ได้รับการกำหนดเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 6 และ 7 ที่ต่อมาได้รับการสำรวจและจัดทำทะเบียนประวัติกลุ่ม

               “ ผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร” ได้รับการบันทึกชื่อและรายการตัวบุคคลเข้าในทะเบียนประวัติประเภท
               ท.ร. 38 ก.และได้รับการกำหนดเลขประจำตัวสิบสามหลักขึ้นต้นด้วยเลข 0 หรือเป็นบุคคลตามยุทธศาสตร์การ

               จัดการปัญหาสถานะบุคคลและสิทธิกลุ่มที่ 1 ไม่ถูกถือว่าเป็นผู้มีสิทธิในการยื่นขอสถานะต่างด้าวผู้มีสิทธิอาศัย

               ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2553 และเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2555 โดยประกาศ








               69  ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล, แนวคิดทางกฎหมายในการพิสูจน์และการพัฒนาสิทธิในสถานะบุคคลตามกฎหมาย, (ดุษฎี
               นิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2556) , น.186
               70  กฎกระทรวงการพิสูจน์และการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น พ.ศ. 2555 ข้อ 2 ผู้ใดประสงค์จะได้รับการรับรองความเป็น

               คนไทยพลัดถิ่น ให้ยื่นคําขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคําขอ ดังต่อไปนี้
                   (5) “หนังสือรับรองว่าตนเองมิได้ถือสัญชาติของประเทศอื่น โดยมีบุคคลที่น่าเชื่อถือซึ่งมีสัญชาติไทยจำนวนสองคนรับรอง”
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65