Page 65 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 65
58
ใจที่จะให้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติแก่คนพลัดถิ่น แต่จะลำบากใจมากที่จะยอมรับการปฏิรูปวิธีการทำ
ให้คนเชื้อสายไทยกลุ่มนี้ได้กลับมาซึ่งสิทธิในสัญชาติไทย โดยคนไทยพลัดถิ่นคนหนึ่งจะบรรลุที่จะกำบัตร
ประชาชนของคนสัญชาติไทยไว้ในมือ จะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี นับแต่เขาบรรลุการพิสูจน์ตนได้แล้วว่า
เป็นผู้สืบสันดานจากคนเชื้อสายไทยก่อนการเสียดินแดนในปลายรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีคนไทยอีกจำนวนมากที่
เหมือนเราและไม่ใช่คนต่างด้าวทั้งในมิติทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น
76
2.5.4 สรุปปัญหาของคนไทยพลัดถิ่นในการขอคืนสัญชาติไทย
จากการศึกษาแนวคิดสิทธิมนุษยชน แนวคิดเกี่ยวกับการกำหนดสถานะบุคคล นโยบายของภาครัฐ
เกี่ยวกับสถานะของคนไทยพลัดถิ่น แนวปฏิบัติของหน่วยงานกับการยื่นขอสัญชาติของคนไทยพลัดถิ่น และ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นคนไทยพลัดถิ่น กล่าวได้ว่าการคืนสัญชาติไทยให้กับคนไทยพลัดถิ่น นอกจากจะ
เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.
2555 แล้ว ยังเชื่อมโยงไปถึงนโยบาย กฎกระทรวงและแนวปฏิบัติของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องด้วยซึ่งพบ
ปัญหาดังนี้
1) ปัญหาความไม่สอดคล้องทางบทบัญญัติแห่งกฎหมายและแนวปฏิบัติตามกฎกระทรวงของ
หน่วยงานภาครัฐ เช่นพยานหลักฐานในการพิสูจน์กรณีพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือ ซึ่งในทางปฏิบัติมักตีความว่า
หมายถึงผู้มีสัญชาติไทยหรือเป็นข้าราชการ หรือกรณีการให้ความสำคัญกับผลดีเอ็นเอของบุตรเป็น
พยานหลักฐานอันดับแรก ทำให้ต้องรอผลการตรวจดีเอ็นเอก่อนที่จะมีการสอบปากคำ ในการดำเนินการยื่นคำ
ขอรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น ซึ่งทำให้หลายกรณีได้กลายเป็นพยานหลักฐานชนิดเดียว เพื่อยืนยันพิสูจน์
ถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุตรและบิดาผู้มีสัญชาติไทย ในขณะที่คนไทยพลัดถิ่นต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการ
ดำเนินการตรวจดีเอ็นเอด้วยตนเอง อันทำให้เกิดความล่าช้าของการเตรียมพยานหลักฐานและอาจก่อให้
ช่องว่างในการคอร์รัปชั่นได้
2) ปัญหาความไม่สอดคล้องเกี่ยวกับนโยบายของรัฐในเรื่องการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลกับแนวการ
ปฏิบัติงานของหน่วยงานรัฐ เช่น การไม่มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับขั้นตอนและระยะเวลาในการแก้ไขปัญหา
การขึ้นทะเบียนผิดกลุ่มของคนไทยพลัดถิ่นผิด หรือถูกจำหน่ายสถานะทางทะเบียน ทำให้การแก้ไขปัญหาเป็น
เรื่องดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ อันเป็นการเพิ่มระยะเวลาแก่คนไทยพลัดถิ่นในการยื่นคำขอต่อคณะกรรมการ
รับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น เนื่องจากต้องรอการแก้ไขสถานะทางทะเบียนก่อน นอกจากนี้ปัญหาดังกล่าว
ยังส่งกระทบต่อบุตรของบุคคลที่รอการแก้ไขสถานะทางทะเบียน ในการขอคืนสัญชาติไทยอีกด้วย
3) ปัญหาความความไม่มีเอกภาพเกี่ยวกับตัวเอกสารพิสูจน์ตัวบุคคลในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน
ภาครัฐในแต่ละพื้นที่ ทำให้แบบในการสอบสวนพิสูจน์บุคคลของคนไทยพลัดถิ่นมีลักษณะแตกต่างกันไป เช่น
76 อ้างแล้ว, สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สำนักกรรมาธิการ 3, น.98