Page 56 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 56
49
2.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคนไทยพลัดถิ่น
ความเป็นมาของ “คนไทยพลัดถิ่นเชื้อสายไทย” หรือ “คนไทยพลัดถิ่น” หรือ “คนไทยถิ่นพลัด” คือ
บุคคลที่สืบสันดานจากบุพการีที่มีเชื้อสายไทยแต่ไม่ได้สัญชาติไทย หรือเสียสัญชาติไทยโดยผลของการ
กฎหมายอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงเขตแดนของราชอาณาจักรไทยในอดีต อันเนื่องมาจากอิทธิพลของชาติ
ตะวันตกในยุคล่าอาณานิคมและแนวคิดเรื่องความเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ที่ต้องมีอาณาเขตที่แน่นอน เพื่อแสดงถึง
ขอบเขตอำนาจอธิปไตยของรัฐ ทำให้บุคคลในชั้นบุพการีที่มีเชื้อสายไทยที่มีถิ่นฐานอาศัยทำมาหากินอยู่ใน
ดินแดนที่เคยเป็นราชอาณาจักรไทย ต้องกลายเป็นดินแดนของประเทศอื่นด้วยเหตุผลทางการเมืองการ
ปกครองและความมั่นคงของประเทศ ทำให้ต้องตกเป็นคนในบังคับของต่างประเทศและในที่สุดก็ถูกถือว่าเป็น
คนสัญชาติของต่างประเทศ โดยคนกลุ่มนี้จะมีทั้งกลุ่มที่อพยพกลับเข้ามาอยู่ในประเทศไทย และยังคงอาศัยอยู่
ในดินแดนที่ตกเป็นของต่างประเทศโดยยังคงดำรงไว้ซึ่งวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม
เช่นเดียวกับคนไทยบนแผ่นดิน โดยสภาความมั่นคงแห่งชาติและกระทรวงมหาดไทยได้มีการจัดให้คนไทยพลัด
ถิ่นเชื้อสายไทยที่อพยพหรือหลบหนีเข้ามาอาศัยอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นชนกลุ่มน้อยประเภทหนึ่ง โดย
59
กลุ่มแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มกล่าวคือ
กลุ่มแรก กลุ่มผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทย หมายถึง กลุ่มคนไทยที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองทวาย
มะริดและตะนาวศรี ซึ่งเคยเป็นดินแดนของประเทศไทย ต่อมาราวปีพ.ศ. 2380-2410 ในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยกับประเทศอังกฤษได้ยึดครองประเทศพม่า จึงได้มีการตั้ง
คณะข้าหลวงปักปันเขตแดนไทย-พม่า ตั้งแต่สบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ลงมาจนถึงปากน้ำของแม่น้ำกระบุรี
จังหวัดระนอง และได้มีการจัดทำอนุสัญญาระหว่างกษัตริย์สยามกับข้าหลวงใหญ่แห่งอินเดียว่าด้วยเรื่อง
กำหนดเขตแดนบนแผ่นดินใหญ่ระหว่างราชอาณาจักรสยามและมณฑลของอังกฤษ ลงนามที่กรุงเทพฯ เมื่อ
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2411 ทำให้ดินแดนที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของคนไทยกลุ่มนี้ ได้แก่ เมืองมะริด ทวาย ตะนาว
ศรี ตกอยู่ในเขตการปกครองของประเทศอังกฤษและกลายเป็นของประเทศพม่า ซึ่งในระยะเวลาต่อมาทำให้
คนไทยกลุ่มดังกล่าวที่ไม่ได้อพยพกลับเข้ามาในดินแดนของประเทศไทยในช่วงนั้น กลายเป็นคนในบังคับของ
ประเทศอังกฤษและประเทศพม่าโดยหลักการเปลี่ยนแปลงอาณาจักรของของรัฐประเทศ
อย่างไรก็ตาม ต่อมาเมื่อเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจและมีการปราบปรามชนกลุ่มน้อยโดยรัฐบาลของ
ประเทศพม่า ทำให้คนไทยเหล่านี้อพยพหนีภัยความตายเข้ามาอยู่ในประเทศไทย โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ 4
จังหวัด คือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง และตาก ซึ่งในระยะแรกทางราชการไทยรวมจัดให้กลุ่มคน
เหล่านี้อยู่กับผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าและถือเอาวันที่ 9 มีนาคม 2519 เป็นวันสุดท้ายของการรับผู้พลัดถิ่น
สัญชาติพม่าให้เข้ามาในประเทศไทยในฐานะผู้อพยพ ส่วนผู้ที่เข้าหลังจากวันที่ วันที่ 9 มีนาคม 2519 จะถือ
59 อ้างแล้ว,วีนัส สีสุข, ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุลและกรกนก วัฒนภูมิ