Page 31 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 31
24
42
โดยการเกิดด้วย เว้นแต่ผู้นั้นถือสัญชาติของประเทศอื่น นอกจากนี้กฎหมายยังกำหนดให้บุตรของคนไทย
พลัดถิ่น ซึ่งบุตรนั้นได้รับสัญชาติไทยมาก่อนที่่คนไทยพลัดถิ่นนั้นจะได้รับการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น
43
จากคณะกรรมการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น ได้รับสัญชาติไทยโดยการเกิดเช่นเดียวกัน ทั้งนี้กฎหมาย
ยังให้ถือว่าคนไทยพลัดถิ่นที่ได้แปลงสัญชาติเป็นไทย หรือได้สัญชาติไทยแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติสัญชาติ
พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 ใช้บังคับ โดยให้ผู้นั้นมีสถานะ
เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดด้วย
44
ดังนั้นการให้สัญชาติแก่คนไทยพลัดถิ่นโดยการเกิด พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไข
เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 จึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มตามมาตรา 5
มาตรา 9/6 วรรคหนึ่งและวรรคสอง และมาตรา 9/7 โดยคนไทยพลัดถิ่นตามกลุ่มมาตรา 9/6 และมาตรา
9/7 จะได้สัญชาติไทยก็ต่อเมื่อต้องผ่านกระบวนการในการพิสูจน์และรับรองบุคคลโดยคณะกรรมการที่จัดตั้ง
ขึ้นตามกฎหมายเรียกว่า “คณะกรรมการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น” และกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นตาม
มาตรา 5 เป็นคนที่ได้สัญชาติไทยแล้วก่อนที่จะมีการพระราชบัญญัติฉบับนี้ ซึ่งอาจเป็นการได้สัญชาติโดยการ
แปลงสัญชาติ หรือการได้สัญชาติไทยโดยคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยที่สั่งตามกฎหมายว่าด้วย
สัญชาติ โดยกลุ่มนี้ถือว่าได้รับการรับรองจากคณะกรรมการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นโดยไม่ต้องพิสูจน์
45
เพราะผ่านขั้นตอนการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องมาแล้ว ดังนี้
42 พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 มาตรา 9/6
43 พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 มาตรา 9/7
44 พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 มาตรา 5
45 วีนัส สีสุข, ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุลและกรกนก วัฒนภูมิ, คู่มือการใช้สิทธิในสัญชาติไทย กรณีคนไทยพลัดถิ่น, (กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์เดือนตุลา, 2556)