Page 29 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 29

22


               ถือว่าบุคคลนั้น “มีความผิดอยู่ตลอดเวลา” ซึ่งตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองกำหนดการอยู่อาศัยในประเทศ

               ไทยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

                       1)  มีถิ่นที่อยู่โดยชอบด้วยกฎหมาย

                          1.1 มีถิ่นที่อยู่แบบชั่วคราว ตามกฎหมายและนโยบายของรัฐบาลได้เปิดโอกาสให้บุคคลต่างด้าวที่
                              อาศัยอยู่ในประเทศไทย เดินทางเข้า-ออก และอาศัยอยู่ชั่วคราวเป็นระยะเวลาต่างๆ กันตาม

                              ภารกิจและความจำเป็น เช่น นักท่องเที่ยวมีระยะเวลาอาศัยอยู่ไม่เกิน 30 วันหรือ 90 วัน ผู้

                              ประกอบอาชีพที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงแรงงานได้รับอนุญาตครั้งละไม่เกิน 1 ปี นักเรียน

                              หรือผู้ปฏิบัติงานขององค์กรต่าง ๆ ตามระยะเวลาที่กำหนด ส่วนใหญ่จะต้องได้รับการตรวจ

                              ลงตราในเอกสารการเดินทาง และบุตรของบุคคลเหล่านี้ที่เกิดในไทยจะไม่ได้สัญชาติไทย
                          1.2 มีถิ่นที่อยู่แบบถาวร กฎหมายและรัฐบาล เปิดโอกาสให้บุคคลต่างด้าวประเทศละ 100 คนต่อ

                              ปี หากต้องการอาศัยอยู่ในประเทศอย่างถูกกฎหมาย สามารถยื่นคำร้องขออนุญาตมีถิ่นมีอยู่

                              ถาวรตามกระบวนการโดยเริ่มที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง หากรัฐมนตรีว่าการกระทรวง-

                              มหาดไทยอนุญาต จะเสียค่าธรรมเนียมตามที่กฎหมายกำหนดและได้รับใบสำคัญถิ่นที่อยู่

                              ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว โดยจะมีชื่อ รายการบุคคลในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) มีเลข

                              บัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก ในฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร สามารถทำหนังสือ

                              เดินทางของไทยเดินทางไปต่างประเทศได้ โดยต้องขออนุญาตตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หาก
                              มีบุตรที่เกิดในประเทศไทยหลังการอนุญาต จะได้สัญชาติไทยโดยอัตโนมัติตามหลักดินแดน

                              เมื่อต้องการมีสัญชาติไทยก็ใช้วิธีการขอแปลงสัญชาติตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ มาตรา 10

                       2)  อาศัยอยู่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

                              กรณีมีบุคคลจำนวนหนึ่งที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่เกินกว่าที่ได้รับอนุญาต

                       เมื่อยังอาศัยอยู่ในประเทศก็เท่ากับว่า เป็นบุคคลที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือบุคคลที่ข้าม
                       แดนเข้ามาอาศัยอยู่โดยไม่ได้ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองและมีบุตรหลานเกิดขึ้นในประเทศ ทุกคนจะ

                       อยู่ในฐานะเป็นบุคคลที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน การผ่อนผันหรือการยกเว้นการ

                       ลงโทษก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลไม่ว่าบุคคลต่างด้าว จะเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายที่มีทั้งอยู่

                       แบบมีถิ่นที่อยู่ถาวรหรือแบบชั่วคราว หรือเข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กฎหมายว่าด้วยการ

                       ทะเบียนราษฎรมาตรา 38 วรรคสอง กำหนดให้ผู้ไม่มีสัญชาติไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยจริง ซึ่ง

                       อาจจะมีคู่สมรสและมีบุตรหลานกับคนสัญชาติไทยทุกคน ต้องได้รับการบันทึกไว้ว่าเป็นประชากรของ

                       ไทยโดยการจัดทำทะเบียนประวัติ (ท.ร.38) ส่วนสถานะบุคคลจะเป็นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับกฎหมาย
                                          37
                       และนโยบายของรัฐบาล


               37  อ้างแล้ว, วีนัส สีสุข, ยินดี ห้วยหงส์ทอง และมานะ งามเนตร์, น.3-4
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34