Page 28 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 28
21
2.4) คนต่างด้าวขอกลับคืนสัญชาติ กรณีคนสัญชาติไทยสละสัญชาติเพื่อสมรสกับคนต่าง
ด้าว/คนสัญชาติไทยเสียสัญชาติตามบิดามารดาก่อนบรรลุนิติภาวะ โดยบุตรที่เกิดหลังจากการสละ
35
สัญชาติจะไม่ได้รับสัญชาติไทยตามหลักสายโลหิต ต่อมาหากบุคคลดังกล่าวมีความประสงค์ขอกลับคืน
สัญชาติไทยสามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่(ตำรวจสันติบาล) เพื่อให้รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงมหาดไทยพิจารณาออกประกาศการได้กลับคืนสัญชาติในราชกิจจานุเบกษา โดยสิทธิใน
ความเป็นผู้มีสัญชาติไทยจะกลับคืนมานับตั้งแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งทาง
ปกครอง
36
2.5) การได้สัญชาติโดยผลของกฎหมาย กล่าวคือการได้สัญชาติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ที่บัญญัติขึ้น อย่างเช่น พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ
สัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 วางบทบัญญัติคืนความเป็นผู้มีสัญชาติไทยให้กับบุคคลที่มีเชื้อสายไทย
ที่เกิดนอกประเทศ รวมถึงบุตรและหลานที่เกิดในประเทศไทยจะได้สิทธิเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการ
เกิดตามหลักสายโลหิต
2.2.3 การอาศัยอยู่ในประเทศไทยของบุคคลต่างด้าวตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
และตามพระราชบัญญัติการทางทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534
บุคคลต่างด้าว คือบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามหลัก
กฎหมายระหว่างประเทศ จะต้องมีเอกสารแสดงตัวจากประเทศเจ้าของสัญชาติหรือประเทศที่ตนสังกัดโดย
ส่วนใหญ่จะใช้ “หนังสือเดินทาง” (Passport) และต้องได้รับอนุญาตให้เข้าเมืองในแต่ละประเทศจากผู้มี
อำนาจ เช่น ในบางประเทศมีสนธิสัญญากันว่า พลเมืองของตนสามารถเดินทางเข้าแบบไม่ต้องมีการขออนุญาต
ก่อน หรือมีการตรวจลงตราเมื่อเดินทางมาถึง (Visas on arrival) หรือต้องขออนุญาตก่อนในต่างประเทศโดย
เริ่มที่สถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลที่มีความสัมพันธ์ทางการทูต ส่วนการผ่านแดนเดินทางเข้าทางด่าน
ตรวจคนเข้าเมือง โดยให้เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองตรวจสอบคำอนุญาต เมื่อถูกต้องก็อนุญาตด้วยการตีตรา
ประทับในหนังสือเดินทาง ในกรณีที่ต้องการอยู่ในประเทศเกินระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต ก็สามารถติดต่อที่
กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ พิจารณาถึงเหตุผล ความจำเป็นและความเหมาะสมได้ อย่างไรก็ดี
ยังคงมีบุคคลจำพวกหนึ่งที่ไม่เดินทางเข้า-ออก ตามด่านพรมแดนให้ถูกต้องตามกฎหมายซึ่งเมื่อเข้ามาอยู่ใน
ประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือได้รับอนุญาตแล้ว แต่อยู่เกินเวลาที่กำหนด (Over stay) ในทางกฎหมายถือ
ว่า “อยู่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง” การกระทำความผิดดังกล่าวไม่มีการขาดอายุความในจึง
35 พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 23 และ
มาตรา 24
36 อ้างแล้ว, วีนัส สีสุข, ยินดี ห้วยหงส์ทองและมานะ งามเนตร์, น.2-3