Page 119 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 119

112


               สถานะ ซึ่งในปัจจุบันสภาความมั่นคงแห่งชาติมีการทำงานในเชิงบูรณาการ ได้แก่ ศูนย์มานุษยวิทยา กระทรวง

               พัฒนาสังคม ที่ทำเรื่องคนพื้นที่สูง กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงมหาดไทย

                       ในส่วนกระบวนการดำเนินงานเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาด้านสัญชาติ สภาความมั่นคงแห่งชาติจะมีการ

               ทำงานรวมกับกระทรวงมหาดไทย (มีการจัดตั้งคณะทำงานรูปแบบคณะกรรมการ) โดยกระทรวงมหาดไทยจะ
               มีการดำเนินการรับฟังปัญหาจากประชาชนและเครือข่าย ส่วนสภาความมั่นคงแห่งชาติ มีหน้าที่รับข้อปัญหา

               และหารือกับกระทรวงมหาดไทยในเรื่องของการกำหนดนโยบายในลำดับถัดไป  อย่างเช่นประเด็นเรื่องตก

               สำรวจ ในปัจจุบันอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อเท็จจริง ในเรื่องของประชากรตกสำรวจ เพื่อเปิดนโยบายการ

               สำรวจต่อคณะรัฐมนตรี (กำลังดำเนินการ) ซึ่งสภาความมั่นคงแห่งชาติดำเนินการในด้านนโยบาย การเปิด

               สำรวจเป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นอำนาจของทั้งสภาความมั่นคงแห่งชาติ และ
               กระทรวงมหาดไทยในการเสนอต่อคณะรัฐมนตรี

                       การแก้ไขปัญหาสถานะบุคคล สภาความมั่นคงแห่งชาติเห็นว่าอย่างไรก็ตามต้องใช้วิธีการจัดกลุ่ม กลุ่ม

               ชาวต่างชาติที่ถือเป็นชนกลุ่มน้อยอพยพมาอยู่ในไทยมานาน 19 กลุ่ม เป็น 18 กลุ่มดั้งเดิม (ชาวเขา) และชาว

               มอแกนเป็น 19 กลุ่มชาติพันธุ์ สามารถมาขอแปลงสัญชาติ มาขอสถานะอยู่ในไทยแล้วแปลงสัญชาติ ส่วนคน

               ไม่มีสถานะอย่างไรก็ต้องขอเลข 13 หลักจากกรมการปกครองก่อน ส่วนกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นก็จะมีการแยกว่า

               เป็นไทยพลัดถิ่นมาจากไหน ถ้าเป็นคนไทยก็มาขอคืนสัญชาติหรือถ้าเป็นคนไทยพลัดถิ่นแต่ความจริงเป็นคน
               ต่างด้าวก็ต้องมีการเปลี่ยนรายการที่มาขอคืนเป็นขอแปลงสัญชาติหรือถ้าเป็นชนกลุ่มน้อย จะเปลี่ยนรายการ

               เป็นคนไทยพลัดถิ่นก็มาเปลี่ยนรายการเพื่อขอคืนสัญชาติ

                       กรณีตกสำรวจ สภาความมั่นคงแห่งชาติได้แยกเป็น 2 กรณีคือ ต้องการขอคืนสัญชาติ (ไทยพลัดถิ่น)

               และไม่ต้องการขอคืนสัญชาติ กรณีต้องการขอคืนสัญชาติ ต้องมีการสำรวจ (ซึ่งเป็นไปโดยผลทางกฎหมาย

               ตามพระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร มาตรา 38) ต้องเป็นการสำรวจโดยภาครัฐเพื่อคืนสัญชาติ (ปัจจุบันใช้

               เฉพาะกับคนไทยพลัดถิ่น) กรณีไม่ต้องการขอคืนสัญชาติ อาจใช้ช่องทางการแปลงสัญชาติ สามารถดำเนินการ
               ตามระบบทะเบียนของไทยไม่ต้องเปิดสำรวจ ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564  เปิดช่องให้นำ

               ชื่อเข้าระบบทะเบียนได้ เพื่อรับการสำรวจต่อไปและสามารถกำหนดพัฒนาสถานะในอนาคต

                       ปัญหา/อุปสรรคในการขอคืนสัญชาติไทยของคนไทยพลัดถิ่นในมุมมองของสภาความมั่นคง

               แห่งชาติ

                       - บทนิยาม “เสียดินแดนในอดีต” เพดานอยู่ถึงช่วงที่ไทยเสียดินแดนให้กับอาณานิคม ย้อนดูห้วงที่เขา
               เกิดมา ความเป็นญาติที่มีความเกี่ยวพันกันกับกลุ่มสมัยก่อน ใช้ข้อเท็จจริงเชิงประวัติศาสตร์ ไม่ได้มีเกณฑ์

               ตายตัว

                       - ปัญหาเรื่องการปฏิบัติ โดยเฉพาะเรื่องของพยานหลักฐาน เช่น การจัดทำผังเครือญาติ
   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124