Page 118 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 118

111


                        - กระบวนที่ถูกต้องตามกฎหมายคือ ทะเบียนประวัติต้องถูกต้อง มีหลักฐานการเกิด การเดินทางเข้า

               มา มีญาติมารับรองผังเครือญาติ สอบปากคำมาให้ตรงกับหลักฐานที่มีอยู่ ซึ่งต้องตรงกับแบบสำรวจว่าอาศัยอยู่
               กับใคร

                        - ปัญหาเกี่ยวกับพยานหลักฐาน พบว่าขาดหลักฐานสำคัญคือ ผังเครือญาติ หรือ หาผู้รับรองให้ไม่ได้

               ว่ามีเชื้อสายไทย
                        - ปัญหาความล่าช้าของกระบวนการดำเนินงานในรูปแบบคณะกรรมการจะมีความล่าช้า เช่น ใน

               กระบวนการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น การรวบรวมคำขอมายังคณะกรรมการรับรองฯ มีจำนวนไม่มาก
               อีกทั้งกรมการปกครองต้องมีการตรวจสอบที่เข้มงวดมาก เพราะยากต่อการคัดกรอง ทั้งนักท่องเที่ยว ผู้ลี้ภัย ผู้

               แปลงสัญชาติ ผู้มีหมายจับความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ความมั่นคง ซึ่งข้อมูลตัวเลข  13 หลัก

               กระทรวงมหาดไทยไม่ได้เชื่อมกับหน่วยงานอื่น แต่ต้องส่งเป็นเอกสารไปตามขั้นตอน  นอกจากนี้ในการ
               ดำเนินงานทั้งในระดับอำเภอและจังหวัดนั้น ไม่ได้ทำเฉพาะเรื่องคนไทยพลัดถิ่นแต่ทำเรื่องไร้สัญชาติทั้งระบบ

               อีกด้วย
                        - ความร่วมมือผ่าน MOU ในการนำนักศึกษาและเอ็นจีโอเข้ามาช่วยสอบปากคำ เห็นได้ว่าปลัดใน

               พื้นที่ไม่มีความเชื่อมั่นเนื่องจากไม่ใช่คนในพื้นที่ อีกทั้งการที่ใช้แบบฟอร์มในการสอบปากคำเพียงอย่างเดียวไม่

               สามารถใช้ได้กับทุกพื้นที่ เพราะในพื้นที่มีความแตกต่างกัน ต้องประชุมที่อำเภอก่อนว่าปลัดต้องการอะไร
               แบบฟอร์มมาตรฐานครบเงื่อนไขหมด แต่ประเด็นปลีกย่อยที่ต้องเสริมจุดนี้ แต่ละพื้นที่มีไม่เหมือนกัน เช่นกรณี

               ของชาวเกาะมีวิถีชีวิตที่แตกต่างในแต่ละพื้นที่ จึงมีการกำหนดคำถามเพิ่มได้ตามดุลพินิจ เพื่อให้รัดกุมเพราะ

               อาจถูกร้องเรียน และมีโทษทางอาญา
                       3) ทัศนคติเกี่ยวกับ “เรื่องความมั่นคง” เนื่องจากคาบเกี่ยวกับเรื่องการเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย

                      ทั้งนี้ทางพนักงานเจ้าหน้าที่ยังได้เสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านสัญชาติว่า การทำงานเรื่อง
               สัญชาติต้องมีความเชี่ยวชาญระดับหนึ่ง ควรมีการปรับโครงสร้างสำนักงาน (ในเขตพื้นที่ที่มีปัญหา) และ

               โครงสร้างระดับนโยบาย รวมถึงการเพิ่มอัตรากำลัง เพิ่มงบประมาณ พัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจน

               ท่าทีการติดต่อประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่และเครือข่ายคนไทยพลัดถิ่น
                                                    130
                       7) ผู้แทนสภาความมั่นคงแห่งชาติ
                       สำหรับหน้าที่บทบาทเกี่ยวกับนโยบายการจัดการปัญหาคนไทยพลัดถิ่นของสภาความมั่นคงแห่งชาติ

               มีหน้าที่นำเสนอมติเพื่อออกมติคณะรัฐมนตรีในการสำรวจเรื่องเกี่ยวกับสัญชาติ (การสำรวจกลุ่มตกสำรวจต้อง

               ออกเป็นมติคณะรัฐมนตรี) และพิจารณาร่วมให้ความเห็นในการร่างแก้ไข พระราชบัญญัติ สัญชาติ ในส่วนของ

               ไทยพลัดถิ่นมีจุดแตกต่างกับคนที่มีปัญหาสถานะบุคคลที่เป็นได้สัญชาติไทยโดยการคืนสัญชาติ รวมถึงตัดสินใจ
               และเสนอแนะเชิงนโยบายในการช่วยเหลือและเร่งรัดการกำหนดสถานะ โดยมีกระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วย

               ปฏิบัติ และมีการจัดประชุมกับส่วนราชการเป็นระยะ มีส่วนร่วมในทำความเห็นกรณีมีปัญหาในเชิงปฏิบัติ

               (หน้าที่หลักเป็นของกระทรวงมหาดไทย) ตลอดจนอำนวยการให้เกิดผลสำเร็จในเรื่องการแก้ไขปัญหาเรื่อง


               130  สัมภาษณ์สภาความมั่นคงแห่งชาติ, ระบบออนไลน์ ZOOM , วันที่ 23 มีนาคม 2565
   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123