Page 116 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 116

109


               สำรวจก็ไม่รู้ว่าจริงหรือปลอม ข้อเท็จจริงส่วนนี้ทำยากที่สุด ซึ่งตกสำรวจในพื้นที่มีเยอะมากจะมีกลุ่มบัตร

               หมายเลข 0 กับไม่มีอะไรเลย ซึ่งทางพนักงานเจ้าหน้าที่เองก็ไม่รู้ว่าเป็นพม่าหรือคนไทยพลัดถิ่น

                       อย่างไรก็ดีสำหรับคนไทยพลัดถิ่น ในการพิสูจน์ความสัมพันธ์ระหว่าง พ่อ แม่ ลูก ญาติพี่น้องทาง

               หน่วยงานภาครัฐมีโครงการตรวจสารพันธุกรรม DNA เข้ามา ทำให้สามารถตรวจพิสูจน์ได้ว่ามีเชื้อสายไทย โดย
               โครงการดังกล่าวจะมีปีละครั้ง ซึ่งทางกรมการปกครองจะแจ้งมายังหน่วยงานแต่ละท้องที่ และมีการส่งรายชื่อ

               ไปตรวจทุกปีแต่ส่วนคนที่มีกำลังก็อาจไปตรวจกันเอง ทางกรมการปกครองจะเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์คือ พ่อ

               แม่ ลูก ลูกพี่ลูกน้องสามารถตรวจกันได้ ปู่ ย่า หลาน สามารถตรวจกันได้ และในระหว่างรอผลตรวจสาร

               พันธุกรรม DNA ก็จะหยุดพักการสอบปากคำพยานผู้ยื่นคำขอรายดังกล่าวไว้ก่อนจนกว่าจะได้ผลตรวจสาร

               พันธุกรรม DNA  และเมื่อได้รับผลตรวจสารพันธุกรรม DNA  จึงจะดำเนินการสอบพยานเพิ่มเติม เพื่อเป็นการ
               ยืนยัน การมีถิ่นที่อยู่อาศัยโดยกระบวนการสอบพยานในกรณีนี้จะไม่ได้เข้มข้นเท่ากับกรณีทั่วไป เนื่องจากมี

               หลักฐานชัดเจนแล้ว

                                                              128
                       5) ปกครองจังหวัด ศาลากลางจังหวัดชุมพร  ได้ให้ข้อมูลแก่นักวิจัยว่า “ทางจังหวัดมีหน้าที่ใน
               การกลั่นกรองเอกสารที่ทางอำเภอได้ส่งมา โดยตั้งกรรมการขึ้นพิจารณาซึ่งมีเวลาในการพิจารณาที่จังหวัดเพียง

               7 วันว่าเอกสารของคนไทยพลัดถิ่นถูกต้องหรือไม่ คุณสมบัติถูกต้องหรือไม่เพื่อไปยังคณะกรรมการกลั่นกรอง

               กรมการปกครองเพื่อพิจารณาอีกขั้นตอนหนึ่ง ในกรณีที่ผังเครือญาติไม่ถูกต้องก็จะส่งเอกสารนั้นกลับไปทาง
               อำเภอให้คนไทยพลัดถิ่นได้แก้ไขผังเครือญาติใหม่ หรือดำเนินการสอบพยานเพิ่มเติมกรณีคณะกรรมการ

               กลั่นกรองขอเอกสารเพิ่มเติม หรือสอบพยานเพิ่มเติมก็จะแจ้งมายังปกครองจังหวัด เพื่อแจ้งทางอำเภอให้

               ประสานคนไทยพลัดถิ่นผู้ขอสัญชาติในการดำเนินการต่อไป สำหรับจังหวัดชุมพรนั้น จะมีคนไทยพลัดถิ่นอยู่

               เพียง 3 อำเภอเท่านั้น คือ อำเภอเมืองชุมพร อำเภอท่าแซะ และอำเภอปะทิว”

                       ขั้นตอนการให้สัญชาติแก่คนไทยพลัดถิ่น ทางหน่วยงานได้ใช้ระเบียบของกรมการปกครอง โดยมีแบบ

               คำขอพิสูจน์ความเป็นคนไทยพลัดถิ่น ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 ในการดำเนินการส่วนในปัญหา
               และอุปสรรคนั้น พบว่า “เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในเรื่องของคนไทยพลัดถิ่นมีเพียงคนเดียว และต้องรับผิดชอบ

               งานทะเบียนหลายงาน เจ้าหน้าที่ขาดความเชี่ยวชาญเพราะสาเหตุจากการโยกย้ายบ่อย ปัญหาการสืบพยาน

               บุคคล ซึ่งมีการอ้างจากคนไทยพลัดถิ่น แต่พยานนั้นไม่ได้อยู่ในพื้นที่ จึงเกิดความล่าช้าในการประสานและ

               ติดต่อ ปัญหาเรื่องโรคระบาด โควิด19 ซึ่งต้องจำกัดจำนวนของคนไทยพลัดถิ่นตามมาตรการความปลอดภัยใน

               การประสานกับส่วนของทางราชการ ในส่วนของการร้องเรียนมายังจังหวัดนั้น ยังไม่มีกรณีของคนไทยพลัดถิ่น
               ร้องเรียนมา มีแต่เฉพาะคนไร้รากเหง้าที่มีการร้องเรียนมายังจังหวัด แม้ว่าทางกรมการปกครองจะแก้ปัญหาใน

               การเพิ่มเจ้าหน้าที่ โดยเปิดสอบทุกๆ 2 ปี แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขเรื่องการขาดแคลนบุคลากรได้ เนื่องจากงาน

               ทางทะเบียนมีภาระงานที่รับผิดชอบหลายอย่าง”



               128  สัมภาษณ์ เจ้าพนักงานปกครองปฏิบัติการ,ศาลากลางจังหวัดชุมพร, วันที่ 2 มีนาคม 2565.
   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121