Page 117 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 117
110
จากการลงพื้นที่สัมภาษณ์หน่วยงานราชการในระดับอำเภอและจังหวัด ที่มีคนไทยพลัดถิ่นอาศัยอยู่ใน
พื้นที่ภาคใต้ทั้ง 4 จังหวัดพบว่า ปัญหาที่สร้างความล่าช้าในการขอคืนสัญชาติของคนไทยพลัดถิ่นซึ่งเกิดขึ้นของ
หน่วยงานราชการ คือ ปัญหาการขาดบุคลากรซึ่งมีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับการใช้บริการขอคืนสัญชาติ
ของคนไทยพลัดถิ่น ปัญหาการโยกย้ายของเจ้าหน้าที่ซึ่งทำให้ขาดความต่อเนื่องในขั้นตอนกระบวนการทำงาน
ปัญหาความเชี่ยวชาญของตัวเจ้าหน้าที่ในเรื่องเกี่ยวกับการขอคืนสัญชาติ ปัญหาการนำบุคคลอื่นๆ ซึ่งมิใช่คน
ไทยพลัดถิ่นเข้ามาปะปน ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องกลั่นกรองอย่างละเอียดจึงทำให้เกิดความล่าช้า และปัญหา
สถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 เพราะหน่วยงานราชการต้องควบคุมจำนวนการมาติดต่อของคนไทยพลัดถิ่น
ตามมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังโรคระบาด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสอบพยานหรือการจัดทำผังเครือญาติ ทำ
ให้การดำเนินการยื่นขอสัญชาติของคนไทยพลัดถิ่นเกิดความล่าช้าและไม่ต่อเนื่อง
129
6) สำนักงานบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
ในกระบวนการคืนสัญชาติไทยให้กับคนไทยพลัดถิ่นตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.
2555 และกฎกระทรวงการพิสูจน์และการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น พ.ศ. 2555 รวมถึงแนวปฏิบัติที่
เกี่ยวข้อง พบปัญหาและอุปสรรคดังนี้
1) บทนิยามคนไทยพลัดถิ่น “ผู้ซึ่งมีเชื้อสายไทยที่ต้องกลายเป็นคนในบังคับของประเทศอื่นโดยเหตุ
อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของราชอาณาจักรไทยในอดีตซึ่งปัจจุบันผู้นั้นมิได้ถือสัญชาติของประเทศ
อื่น และได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทยเป็นระยะเวลาหนึ่งและมีวิถีชีวิตเป็นคนไทย โดยได้รับการ
สำรวจจัดทำทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรี
กำหนด หรือเป็นผู้ซึ่งมีลักษณะอื่นทำนองเดียวกันตามที่กำหนดในกฎกระทรวง” มีการนิยามไว้กว้างมาก
สำหรับคำว่า “คนไทยสมัยก่อน”
และประเด็นเรื่องเงื่อนไขหนึ่งของผู้ยื่นคำขอได้ คือ “คนไทยพลัดถิ่นกำหนดไว้ชัดเจนว่าต้องได้รับการ
สำรวจจากกฎหมายการทะเบียนราษฎรภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนด” หมายถึง คน
ไทยพลัดถิ่นที่จะเข้าเงื่อนไขต้องได้รับการสำรวจก่อน ทำให้มีผู้ตกสำรวจเป็นจำนวนมาก ซึ่งการจะเปิดสำรวจ
ใหม่ เป็นหน้าที่ของสภาความมั่นคงและกระทรวงมหาดไทย
2) ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการ
- ผู้ยื่นคำขอไม่มีคุณสมบัติมาตั้งแต่ต้นทั้งนี้จะต้องปรากฏว่าได้มีหลักฐานว่ามีการอพยพเข้ามาก่อนปี
2542 ในขั้นตอนการรับรองนอกจากพยานหลักฐานที่ส่งมาระดับอำเภอหรือจังหวัดแล้ว ในชั้นคณะกรรมการ
รับรองฯ มีการส่งตรวจสอบ สำนักงานข่าวกรอง สันติบาล ส่วนการข่าว กงสุลกระทรวงการต่างประเทศ
- การสำรวจผิดตั้งแต่ในอดีตเป็นกระบวนการผิดพลาดตั้งแต่เริ่มต้น ทำให้ข้อมูลผิดพลาด เช่นการถูก
จัดกลุ่มเป็นเลข 0 ตั้งแต่แรก ทำให้ต้องมีการแก้กลุ่มว่าเป็นคนเชื้อสายไทยก่อน
129 สัมภาษณ์ เจ้าพนักงานปฏิบัติงานสำนักบริหารการทะเบียน,กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย, วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.
2565