Page 25 - เอกสาร/สื่อเผยแพร่และขับเคลื่อนพัฒนาจากรายงานการศึกษาวิจัยในประเด็น “ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน”
P. 25

๒๓



                                                        พระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม
                                                     แหงชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ แมจะเปนกฎหมายกลางวาดวย
                                                     การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม และแมจะ
                                                     มีการแกไขเพิ่มเติมไปแลว แตก็เปนการแกไขเพียงเล็กนอย
                                                     ซึ่งยังไมนําไปสูการปฏิรูปเชิงระบบ และยังมีเนื้อหาที่ไม
                                                     เปนไปตามบทบัญญัติตามมาตรา ๕๗ ของรัฐธรรมนูญ
                                                     กลาวคือ ยังไมมีบทบัญญัติรองรับเรื่องการใหประชาชน
                                                     และชุมชนในทองถิ่นที่เกี่ยวของมีสวนรวมในการอนุรักษ
                                                     คุมครองบํารุงรักษา ฟนฟู บริหารจัดการ และใชหรือ
                                                     จัดใหมีการใชประโยชนจากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดลอม
                                                     และความหลากหลายทางชีวภาพ และไดรับประโยชน
                                                     จากการดําเนินการดังกลาว




                การจัดการทรัพยากรที่ดินและปาไม  ถือเปนความขัดแยงเรื้อรังมานานหลายทศวรรษ ระหวางชาวบานที่อาศัย
             และทําประโยชนในพื้นที่กับรัฐที่ตองการควบคุมและจัดการปาเพื่อการอนุรักษ และการใชประโยชนทางเศรษฐกิจ
             โดยรัฐพยายามแกปญหาขอดังกลาว โดยออกมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เรื่อง พื้นที่เปาหมาย
             และกรอบมาตรการแกไขปญหาการอยูอาศัยและทํากินในพื้นที่ปาไม (ทุกประเภท) ซึ่งใชเปนแนวทางในการแกไขปญหาที่ดิน
             ทั้งในพื้นที่ปาอนุรักษและพื้นที่ปาสงวนแหงชาติ ตอมารัฐไดการตรากฎหมายเกี่ยวกับการจัดการที่ดินและปาไมหลายฉบับ
             ไดแก พระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายที่ดินแหงชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ พระราชบัญญัติปาชุมชน พ.ศ. ๒๕๖๒
             รวมทั้งตราพระราชบัญญัติอุทยานแหงชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ และพระราชบัญญัติสงวนและคุมครองสัตวปา พ.ศ. ๒๕๖๒
             เพื่อแกไขปญหาการอยูอาศัยและทําประโยชนในที่ดินในเขตปาอนุรักษ




                อยางไรก็ดี จากรายงานผลการประเมินสถานการณดานสิทธิมนุษยชน
             ของประเทศไทยป ๒๕๖๓ ของ กสม. ระบุวา ยังมีประชาชนอีกจํานวนมาก
             ที่ประสบปญหาที่ดินทํากินและไดรับความเดือดรอนจากการถูกจับกุมและ
             ขับไลออกจากที่ดินเดิมอยู  นอกจากนี้ ภาคประชาชนบางสวนไดวิจารณ
                             ๑๓
             กฎหมายเหลานี้วา ไมสอดคลองกับเจตนารมณของรัฐธรรมนูญ เพราะใช
             แนวคิดการควบคุมทรัพยากรโดยรัฐ และไมยอมรับสิทธิชุมชน ๑๔



                สวนกฏหมายปาชุมชนไมอนุญาตใหขอจัดตั้ง “ปาชุมชน”ในเขตปาอนุรักษ ทําใหชุมชนที่อยูในพื้นที่ปาอนุรักษหลายแหง
             ไมสามารถจัดตั้งปาชุมชนได หรือชุมชนหลายแหงที่มีการจัดการปาชุมชนอยูแลว ไมสามารถขอรับรองทางกฎหมายได
             อาทิ กรณีกลุมชาติพันธุกะเหรี่ยง (ปกาเกอญอ) บานกลาง ตําบลบานดง อําเภอแมเมาะ จังหวัดลําปาง ดูแลผืนปากวา
             ๑๐,๐๐๐ ไร แตไมสามารถเขาเงื่อนไขการจัดตั้งปาชุมชนไดเนื่องจากอยูในเขตปาอนุรักษ
                                                                     ๑๕

                ๑๓  รายงานผลการประเมินสถานการณดานสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ป ๒๕๖๓ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
                ๑๔  การประชุมเชิงปฏิบัติการ ทางเลือก ทางออก พระราชบัญญัติอุทยานแหงชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ วันเสารที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๓ ณ หองประชุมไพบูลย วัฒนศิริธรรม
             สถาบันพัฒนาองคกรชุมชน (องคการมหาชน) กรุงเทพมหานคร
                ๑๕  รายงานสรุปผลการปฏิบัติงานเผยแพรและขับเคลื่อนงานวิจัยสิทธิมนุษยชน ปงบประมาณ ๒๕๖๓ ในพื้นที่ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม) (วันที่ ๖ - ๙ กุมภาพันธ ๒๕๖๓)
             โดยกลุมงานวิจัยสิทธิมนุษยชน สํานักกิจการ กสม. สํานักงาน กสม.
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30