Page 94 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 94
ตารางที่ 3-1: กลไกการคุ้มครองผู้ถือหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
การละเมิดสิทธิผู้ถือหุ้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
กระจายข่าวลือ แสวงหาข้อเท็จจริงเมื่อได้รับข่าวลือ แสวงหาข้อเท็จจริงเมื่อได้รับข่าวลือเกี่ยวกับ
เกี่ยวกับธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาด ตลาดการเงิน โดยอาศัยความร่วมมือในการ
หลักทรัพย์ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ กระทรวงการคลัง
และธนาคารแห่งประเทศไทย
การปั่นหุ้น/การใช้ข้อมูล ตรวจสอบเบื้องต้นจากข้อมูลการซื้อขาย รับเรื่องร้องเรียนจาก ตลท. อ้างอิงจากข่าว
ภายในเพื่อแสวงหา หุ้นรายตัว ข้อร้องเรียนจากภายนอก ระบบตรวจสอบ
ผลประโยชน์ ภายใน เพื่อทำการตรวจสอบเชิงลึก และทำ
การบังคับใช้กฎหมาย
การปกปิด/บิดเบือนข้อมูล ตรวจสอบเบื้องต้นจากการส่งงบการเงิน รับข้อร้องเรียน ตรวจสอบเชิงลึก และ
ฐานะทางการเงินของธุรกิจ และการตรวจสอบคุณสมบัติการเป็นธุรกิจ ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายหากพบว่าธุรกิจมี
ที่มีฐานะการเงินมั่นคง การปกปิด/บิดเบือนข้อมูลฐานะทางการเงิน
ของธุรกิจ
ที่มา: ประมวลผลโดยคณะผู้วิจัย
สำหรับธุรกิจที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ธุรกิจจะมีหน้าที่ที่จะต้องส่งงบการเงินให้กับกรม
พัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อแสดงฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานกิจการตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ เท่านั้น โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะอาศัยเกณฑ์ในการขีดออกจากทะเบียนการเป็นธุรกิจ 3
ประเด็นคือ 1. การไม่ส่งงบการเงินเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน 2. การไม่มีสำนักงานใหญ่ตั้งขึ้นตามที่จดทะเบียนไว้
และ 3. การจดทะเบียนเลิกแล้วแต่ไม่ยื่นจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีให้เสร็จสิ้นภายใน 3 ปี (กรมพัฒนา
ธุรกิจการค้า, 2561)
นักลงทุนที่สนใจจะลงทุนในธุรกิจนอกตลาดหลักทรัพย์จะสามารถที่จะค้นหารายชื่อบริษัทว่าได้อยู่ใน
รายชื่อนิติบุคคลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือไม่ รวมทั้งสามารถที่จะยื่นของบการเงินของบริษัทที่ได้ยื่น
ข้อมูลประจำปีมาเพื่อนำมาใช้ในการประกอบการเลือกลงทุนได้
การลงทุนในธุรกิจในลักษณะของแชร์ลูกโซ่ เป็นการลงทุนประเภทหนึ่งที่สำคัญ และเกิดปัญหาการ
ละเมิดสิทธิมนุษยชนค่อนข้างมาก เนื่องจากการดำเนินธุรกิจจะไม่ได้มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่แท้จริง หรือมี
กิจกรรมทางเศรษฐกิจแต่เจตนารมณ์ในการดำเนินการจะมุ่งเน้นที่การใช้เงินของผู้สมัครรายใหม่มาแจกจ่าย
ให้กับผู้สมัครรายเดิม ซึ่งเป็นธุรกิจที่ไม่ยั่งยืนเนื่องจากจำนวนผู้สมัครที่ต้องการจะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และ
ท้ายที่สุดเมื่อเงินจากผู้สมัครรายใหม่มีไม่เพียงพอที่จะจ่ายให้กับผู้สมัครรายเดิม ธุรกิจในลักษณะของแชร์ลูกโซ่
ก็จะล้มละลาย ก่อให้เกิดความเสียหายจำนวนมาก
การฉ้อโกงในลักษณะของแชร์ลูกโซ่ อยู่ภายใต้ พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง
ประชาชน พ.ศ. 2527 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยมีคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นหน่วยงานหลักที่ทำ
หน้าที่ในการจัดการกับปัญหานี้
34