Page 93 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 93

ทำให้ราคาแตกต่างจากพื้นฐานมาก และเป็นช่องว่างที่จะเข้ามาทำกำไรของผู้ที่ปั่นราคาหุ้นในลักษณะที่

               คล้ายคลึงกันกับการกระจายข่าวลือข้างต้น

                       การใช้ข้อมูลภายในเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ หมายถึง การที่บุคคลใดอาศัยตำแหน่งหน้าที่ในฐานะที่

               สามารถล่วงรู้ข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญของบริษัท อันจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ และ
               เข้ามาทำการซื้อขายหลักทรัพย์โดยอาศัยข้อเท็จจริงดังกล่าวก่อนที่ข้อเท็จจริงดังกล่าวจะถูกเปิดเผยต่อ

               สาธารณชนอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งถือเป็นการเอาเปรียบบุคคลอื่นและเป็นการซื้อขายที่ไม่เป็นธรรม

                       การปกปิด/บิดเบือนข้อมูลฐานะทางการเงินของธุรกิจ หมายถึง การจัดทำบัญชีรายงานสถานะ

               ทางการเงินของธุรกิจที่ล่าช้า และมีการปกปิด อำพราง หรือแจ้งข้อมูลบางส่วนที่เป็นเท็จ ซึ่งนำไปสู่การ

               วิเคราะห์ประเมินมูลค่าพื้นฐานของธุรกิจที่ผิดพลาดต่ำกว่า หรือสูงกว่าที่ควรจะเป็น ก่อให้เกิดช่องว่างเป็น
               โอกาสในการเข้ามาทำกำไรของผู้ที่ปกปิด/บิดเบือนข้อมูลดังกล่าว


                                                                                                     15
                       กลไกการคุ้มครองในกรณีของสิทธิผู้ถือหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (ตารางที่ 3-1) มีดังนี้
                       1. การกระจายข่าวลือ จะมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่แสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อให้ข้อมูลกับผู้ถือหุ้น ได้แก่

               ตลท. ในกรณีที่เป็นข่าวลือเกี่ยวกับบริษัทจดทะเบียน และมี ก.ล.ต. ทำหน้าที่ในกรณีที่เป็นข่าวลือเกี่ยวกับ
               ตลาดการเงิน ซึ่งในส่วนหลังจะอาศัยความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ กระทรวงการคลังและ

               ธนาคารแห่งประเทศไทย

                       2. การปั่นหุ้น/การใช้ข้อมูลภายในเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ จะมี ตลท. ทำหน้าที่เป็นด่านหน้าในการ

               ตรวจสอบเบื้องต้น (ผ่านทางราคาและปริมาณการซื้อขายหุ้น) ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ซึ่งหากเห็นว่ามี
               ความผิดก็จะรวบรวมข้อมูลส่งต่อไปยัง ก.ล.ต. ที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบเชิงลึก และดำเนินการบังคับใช้ทาง

               กฎหมาย

                       3. การปกปิด/บิดเบือนข้อมูลฐานะทางการเงินของธุรกิจ จะมี ตลท. เป็นด่านแรกในการควบคุมการ

               เปิดเผยข้อมูลฐานะทางการเงินของธุรกิจตามกำหนดเป็นระยะ ซึ่งหากธุรกิจไม่ได้ทำการเปิดเผยข้อมูล หรือ
               ขาดคุณสมบัติในการเป็นธุรกิจที่มีฐานะการเงินมั่นคง เช่น ฐานะทางการเงินและผลประกอบการไม่เป็นไป

               ตามที่ ตลท. กำหนด หรือ ไม่สามารถที่จะแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบบัญชีได้ภายในกำหนด หรือผู้ตรวจสอบ

               บัญชีไม่ได้แสดงความเห็น หรือแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้องเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน อย่างใดอย่าง
               หนึ่งข้างต้น ก็จะถูกพิจารณาเพิกถอนจากการเป็นธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ ในขณะที่ ก.ล.ต. จะทำหน้าที่ใน

               การตรวจสอบความผิดปกติของข้อมูลฐานะทางการเงินของธุรกิจ และสามารถที่จะพิจารณาตรวจสอบเชิงลึก

               และดำเนินการบังคับใช้กฎหมายหากพบว่าธุรกิจมีการปกปิด/บิดเบือนข้อมูลฐานะทางการเงินของธุรกิจ







               15  รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดดู ขั้นตอนการตรวจสอบและช่องทางในการบังคับใช้กฎหมายของตลาดหลักทรัพย์,
               https://www.sec.or.th/TH/Documents/Enforcement/InvestigationandEnforcementMeasures_TH.pdf
                                                            33
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98