Page 70 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 70

4)  ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้แทนจากภาคประชาสังคม ที่ทำงานเกี่ยวกับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

                              และสิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน สิทธิแรงงาน และสิทธิด้านสิ่งแวดล้อม
                          5)  ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้แทนจากสถาบันวิชาการที่เกี่ยวข้อง

                          6)  นักกฎหมายด้านธุรกิจ การค้า การลงทุน

                       1.4.7   จัดทำรายงานผลการประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน : นโยบาย

               กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ ซึ่งประกอบด้วยสาระเกี่ยวกับช่องว่างที่เกิดขึ้น

               ของนโยบาย กฎหมาย มาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศตามหลักการ UNGP ที่มี
               ผลกระทบต่อการส่งเสริมและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ภายใต้เสาหลักที่ 1 และเสาหลักที่ 3 และ

               ข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมให้การลงทุนของภาคธุรกิจเคารพสิทธิมนุษยชนและมีการ
               เยียวยาที่มีประสิทธิผลหากมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น พร้อมจัดทำบทสรุปผู้บริหารภาษาไทยและ

               ภาษาอังกฤษ ตลอดจนรายงานผลการประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน : นโยบาย

               กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศฉบับย่อ

                       1.4.8   จัดทำรายงานผลการประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน : นโยบาย

               กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศฉบับสมบูรณ์ พร้อมจัดทำบทสรุปผู้บริหาร
               ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตลอดจนรายงานผลการประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจกับสิทธิ

               มนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศฉบับย่อที่ได้ปรับแก้ไขตาม
               ความเห็นของคณะกรรมการตรวจรับงานจ้างที่ปรึกษาแล้ว


                       อย่างไรก็ดี เนื่องจากประเทศไทยมีกฎหมายเป็นจำนวนมาก โดยมีกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ
               (พ.ร.บ.) และพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ไม่น้อยกว่า 880 ฉบับ  และมีกฎระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศในทุก
                                                                  5
               ลำดับขั้นอีกมากกว่า 100,000 ฉบับ (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, 2560ก) จึงทำให้การวิเคราะห์

               ช่องว่างของกฎหมายทางตรงโดยพิจารณากฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับและประกาศในทุก ๆ ฉบับ อาจจะ
               ไม่มีความเหมาะสมภายใต้ข้อจำกัดทางด้านระยะเวลาและงบประมาณในการวิจัย ประกอบกับสภาพปัญหา

               ทางด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของไทยที่มีลักษณะเป็นพลวัต มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อปัญหาเก่าจบลงไป และ

               มีปัญหาใหม่ ๆ เกิดขึ้นแทนที่ รวมถึงปัญหาที่คงค้างรอการแก้ไขอยู่ งานวิจัยชิ้นนี้จึงมุ่งเน้นที่จะศึกษาถึงปัญหา
               การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจที่สำคัญในปัจจุบัน โดยมุ่งหวังเพื่อให้ผลงานวิจัยเป็น

               กรอบแนวทางในการประเมินและตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยเรื่องธุรกิจ
               และสิทธิมนุษยชนของประเทศ (National Action Plan on Business and Human Rights หรือ NAPs) ว่า

               ได้มีการดำเนินการในประเด็นเฉพาะที่สำคัญ ๆ ของไทยมากน้อยเพียงใด รวมไปถึงได้มีการดำเนินการปิด

               ช่องว่างของกลไกที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้นหรือไม่

                       งานวิจัยชิ้นนี้ได้กำหนดกรอบในการคัดเลือกปัญหา โดยกำหนดให้ประเด็นใดประเด็นหนึ่งจะเป็น

               ประเด็นเฉพาะที่สำคัญ หากมีลักษณะของปัญหาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ได้แก่ 1. ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย 2.



               5  สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้จากเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, http://www.krisdika.go.th
                                                            10
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75