Page 71 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 71

ปัญหาที่มีขนาดใหญ่ 3. ปัญหาที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต 4. ปัญหาที่แก้ไขโดยง่าย หรือ 5. ปัญหา

               พื้นฐานที่เป็นต้นเหตุของปัญหาอื่น ๆ

                       1. ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย หมายถึง ประเด็นหรือปัญหาทางด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง

               สะท้อนว่าเป็นประเด็นปัญหาที่อาจมีผู้ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น ข้อร้องเรียนที่มีการ
               ร้องเรียนต่อ กสม. หลายครั้ง หรือ ข้อร้องเรียนที่มีจำนวนผู้เสียหายจำนวนมาก เป็นต้น


                       2. ปัญหาที่มีขนาดใหญ่ หมายถึง ประเด็นหรือปัญหาทางด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจมีผลกระทบอย่าง
               รุนแรงต่อประเทศ หรือต่อปัจเจก โดยอาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นกรณีที่เกิดขึ้นอย่างมีความถี่หรือเกิดขึ้นเป็นวง

               กว้าง แต่มีขนาดความรุนแรงที่สามารถชี้วัดได้ว่าปัญหาดังกล่าวอาจก่อให้เกิดผลกระทบในระดับสูง โดยมี

               ปัจจัยที่ใช้เป็นเครื่องชี้วัด เช่น มูลค่าการฟ้องร้อง หรือ การสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ (Economics loss) เป็น
               ต้น


                       3. ปัญหาที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต หมายถึง ประเด็นหรือปัญหาทางด้านสิทธิมนุษยชนที่มี
               แนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยจะทำการพิจารณาและคาดคะเนขึ้นจากสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนที่

               เป็นอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประเด็นนี้จะช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายสามารถกำหนดแนวทางในการป้องกัน
               (Prevention) และรับมือกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ผลกระทบที่

               อาจเกิดขึ้นจากโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นต้น

                       4. ปัญหาที่แก้ไขได้โดยง่าย หมายถึง ประเด็นหรือปัญหาทางด้านสิทธิมนุษยชนที่สามารถผลักดัน

               แก้ไขเพื่อบรรลุเป้าหมายได้ทันทีภายใต้ทรัพยากรและเงื่อนไขที่มีอยู่ในปัจจุบัน และจะทำให้เกิดการ
               เปลี่ยนแปลงขึ้นได้ทันที โดยความยากง่ายในการแก้ไขปัญหานั้นอาจจะต้องพิจารณาองค์ประกอบหลายด้าน

               ร่วมกัน เช่น ทรัพยากรหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหา เช่น บุคลากร งบประมาณ นโยบาย

               ของผู้บริหารในระดับสูง รวมไปถึงข้อจำกัดทางด้านกฎหมาย ว่าการดำเนินการแก้ไขปัญหานั้นขัดแย้งต่อข้อ
               กฎหมายที่มีอยู่หรือไม่


                       5. ปัญหาพื้นฐานที่เป็นต้นเหตุของปัญหาอื่น ๆ หมายถึง ปัญหาที่เป็นรากฐานหรือสาเหตุให้เกิด
               ปัญหาอื่น ๆ ซึ่งจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาอื่นได้หากไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ ปัญหาระดับพื้นฐานถือได้ว่าเป็น

               ปัญหาที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นปัญหาที่เป็นสาเหตุหรือเป็นที่มาของปัญหาอื่น ๆ ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า

               ปัญหาด้านนี้ควรได้รับการให้ความสำคัญในการแก้ไข เพราะมีความเป็นไปได้ที่ปัญหานี้จะกลายเป็นเงื่อนไขที่
               ก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา ทั้งยังเป็นอุปสรรคต่อการแก้ไข้ปัญหาอื่น ๆ อีกด้วย


                       สุดท้ายนี้ คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาประเด็นปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนโดยใช้กรอบประเด็นปัญหา
               ข้างต้น ร่วมกับการศึกษากรณีศึกษาไม่น้อยกว่า 3 กรณี




               1.5   เค้าโครงเนื้อหาของรายงาน


                       เค้าโครงเนื้อหาของรายงานวิจัย ประกอบด้วย

                                                            11
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76