Page 68 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 68

1.   ผลการดำเนินงานของภาครัฐในการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ ซึ่งการ

                          วิเคราะห์จะมุ่งเน้นไปที่ผลการดำเนินการของ กสม. เป็นสำคัญ และยังทำการศึกษาครอบคลุมถึง
                          ผลการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับทั้ง 2 เสาหลัก ซึ่ง

                          ครอบคลุมไปถึงสถานการณ์และผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นจากการค้าการลงทุนของ

                          ประเทศ และประสิทธิผลของเครื่องมือของรัฐในการสนับสนุนให้มีการปฏิบัติการตามหลักการ
                          UNGP ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ อาทิ รัฐธรรมนูญ กฎหมาย นโยบาย

                          มาตรการต่าง ๆ ของรัฐ

                       2.   การทบทวนวรรณกรรมที่มีความเกี่ยวข้อง ภายใต้ขอบเขตการวิจัย หัวข้อ 1.4.1 – 1.4.2


                       ขั้นตอนที่สอง ประเมินกลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจของภาครัฐที่
               ควรจะเป็น ซึ่งจะประกอบไปด้วยข้อมูลที่สำคัญ 4 แหล่ง ได้แก่


                       1.   การทบทวนวรรณกรรมของต่างประเทศและของไทยที่เกี่ยวข้องกับกลไกการคุ้มครองทางด้าน
                          สิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจของภาครัฐที่ควรจะเป็น ซึ่งครอบคลุมไปถึง วรรณกรรมที่

                          เกี่ยวข้องกับหลักการชี้แนะเรื่องสิทธิมนุษยชนสำหรับธุรกิจของสหประชาชาติ และวรรณกรรมที่
                          เกี่ยวข้องกับการประเมินข้อมูลพื้นฐานด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน


                       2.   การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านวิชาการ ที่เคยทำงานวิจัยเกี่ยวข้องกับประเด็นสิทธิมนุษยชน
                          หรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องในภาคปฏิบัติ เพื่อเก็บรวบรวมมุมมองที่สำคัญในทางวิชาการด้าน

                          สิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ

                       3.   การสัมภาษณ์หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และตัวแทน

                          สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อที่จะเข้าใจถึงการดำเนินงานที่เป็นอยู่
                          เป้าหมายที่ควรจะเป็น รวมไปถึงแผนการดำเนินงานในอนาคตในการนำไปสู่เป้าหมายที่ควรจะ

                          เป็น ตลอดจนอุปสรรคต่าง ๆ ที่เป็นข้อจำกัดที่สำคัญในปัจจุบัน

                       4.   การสัมภาษณ์ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม และนักกฎหมายด้านธุรกิจ การค้า การลงทุน เพื่อ

                          รวบรวมความเห็นจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง

                       ขั้นตอนที่สาม วิเคราะห์ช่องว่าง โดยอ้างอิงจากผลการศึกษาในขั้นตอนที่หนึ่งและขั้นตอนที่สอง เพื่อ

               วิเคราะห์หาช่องว่างในกลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจของภาครัฐที่มีอยู่ใน

               ปัจจุบัน ซึ่งการดำเนินการจะอาศัยการวิเคราะห์โดยคณะผู้วิจัยเป็นหลัก เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปเบื้องต้นของ
               งานวิจัย จากนั้นจะมีการพัฒนาข้อสรุปและข้อเสนอแนะให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ผ่านการจัดประชุม

               ระดมความคิดเห็น โดยผู้เข้าร่วมจะเป็นตัวแทนจากหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็นการวิจัย อาทิ

               ตัวแทนจาก กสม. หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ ภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง อันนำมาสู่
               ผลงานวิจัยที่สมบูรณ์ เป็นรายงานผลการประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน

               (นโยบาย กฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ) ที่ประกอบไปด้วยสาระสำคัญเกี่ยวกับ

               ช่องว่างในกลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนของภาครัฐที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะเชิง
                                                            8
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73