Page 67 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 67

แผนภาพที่ 1-1: กรอบแนวคิดและระเบียบวิธีวิจัย







































               ที่มา: นำเสนอโดยคณะผู้วิจัย





                       เพื่อตอบโจทย์วิจัยข้างต้น คณะผู้วิจัยได้แยกการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ (1) การวิเคราะห์

               กลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจของภาครัฐที่มีอยู่ในปัจจุบัน (actual) เทียบ

               กับ (2) กลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจของภาครัฐที่ควรจะเป็น (desired)
               เพื่อตอบสนองต่อความต้องการสังคมทางด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ ซึ่งผลการวิเคราะห์จะทำ

               ให้เห็นช่องว่างที่เกิดขึ้นจริงและนำไปสู่ข้อเสนอแนะเพื่อสนับสนุนการพัฒนากลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิ

               มนุษยชนของภาครัฐต่อไป

                       สำหรับการวิเคราะห์ช่องว่าง การวิจัยครั้งนี้ได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)

               ซึ่งประกอบไปด้วยการเก็บข้อมูลผ่านวรรณกรรมด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ ควบคู่ไปกับการ
               สัมภาษณ์กลุ่มบุคคลหรือหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ โดยในขั้น

               สุดท้าย คณะผู้วิจัยได้ทำการจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อปรับปรุงและพัฒนาผล

               การศึกษาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น สำหรับขั้นตอนดำเนินการจะประกอบด้วย

                       ขั้นตอนแรก วิเคราะห์กลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนของภาครัฐที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะ

               อาศัยการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิใน 2 กลุ่มหลัก ได้แก่


                                                            7
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72