Page 182 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 182
ทั้งนี้ กรณีสิทธิประชากรกลุ่มเฉพาะเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับสิทธิประเภทอื่น ๆ อาทิเช่น การ
ละเมิดแรงงานเด็กหรือสิทธิแรงงานผู้สูงอายุ จะเชื่อมโยงกับสิทธิแรงงาน การเลือกปฏิบัติต่อผู้พิการในการ
เข้าถึงการบริการจะเชื่อมโยงกับสิทธิผู้บริโภค เป็นต้น ดังนั้น อีกด้านหนึ่ง การปรับปรุงการคุ้มครองสิทธิ
ประเภทต่าง ๆ จึงควรพิจารณาและตระหนักถึงประชากรกลุ่มเฉพาะร่วมเข้าไปด้วย
4.3.9 ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน
เมื่อพิจารณาช่องว่างในกลไกการดำเนินการที่มีอยู่สำหรับผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน โดยเปรียบเทียบ
ระหว่างกลไกที่มีอยู่กับกลไกที่ควรจะเป็น คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. กลไกทางด้านการปรับแก้กฎหมาย
- กระทรวงยุติธรรมและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรพิจารณาปรับปรุงพระราชบัญญัติ
คุ้มครองพยาน
- สํานักนายกรัฐมนตรีควรออกกฎหมาย หรือระเบียบเกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิ
มนุษยชน
- กระทรวงยุติธรรมและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรเร่งผลักดันร่างพระราชบัญญัติ
ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทําให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. ....
- กระทรวงยุติธรรมและกระทรวงมหาดไทยควรทบทวนและยกเลิกกฎหมาย กฎ ระเบียบ คําสั่งใด ๆ
ที่จํากัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนกําหนดเงื่อนไขเพื่องดเว้นโทษให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐ อาทิ
พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 (ฉบับปรับปรุงปี 2549) พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558
เป็นต้น
- กระทรวงยุติธรรมควรพิจารณาแก้ไขกฎหมายให้พนักงานอัยการสามารถดําเนินคดีแบบกลุ่มแทน
กลุ่มผู้เสียหายได้
- กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรมควรเยียวยาเหยื่อและผู้เสียหายตามปฏิญญาว่าด้วย
หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการอํานวยความยุติธรรมแก่ผู้ได้รับความเสียหายจากอาชญากรรมและการใช้อํานาจ
โดยมิชอบตามความเหมาะสมและเพศสภาวะ
- ศาลและกระทรวงยุติธรรมควรสนับสนุนการฟ้อง Anti-SLAPP โดยยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลที่
เกิดขึ้น
- กระทรวงยุติธรรมควรมีการปรับแก้คดีฟ้องร้องหมิ่นประมาทบางประเภทจากทั้งแพ่งและ/หรือ
อาญา ให้เป็นเพียงแค่แพ่ง
2. กลไกที่ไม่ใช่ด้านกฎหมาย (นโยบาย มาตรการต่าง ๆ และการดำเนินการอื่น ๆ)
122