Page 181 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 181
- สํานักงานโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมควรส่งเสริมให้ทุนไทยที่ประกอบธุรกิจในต่างประเทศจัดตั้ง
กองทุนเพื่อเยียวยาและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบทั้งในด้านอาชีพ วิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรม สุขภาพ ทรัพยากร
ทาง ธรรมชาติ
- สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ร่วมกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติควรพิจารณาให้รางวัลธุรกิจที่แก้ไขปัญหาการละเมิดได้อย่างดีเด่น
4.3.7 สิทธิผู้บริโภค
เมื่อพิจารณาช่องว่างในกลไกการดำเนินการที่มีอยู่สำหรับสิทธิผู้บริโภค โดยเปรียบเทียบระหว่างกลไก
ที่มีอยู่กับกลไกที่ควรจะเป็น คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. กลไกทางด้านการปรับแก้กฎหมาย
- การปรับแก้รัฐธรรมนูญให้มีการรับรองสิทธิที่ครอบคลุมตามหลักสากล
- การปรับแก้กฎหมายเพิ่มบทลงโทษให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
- การปรับปรุงพระราชบัญญัติการจัดตั้งองค์กรของผู้บริโภคให้มีตัวแทนผู้บริโภคเข้าไปให้ความเห็น
อย่างแท้จริง
2. กลไกที่ไม่ใช่ด้านกฎหมาย (นโยบาย มาตรการต่าง ๆ และการดำเนินการอื่น ๆ)
- สคบ. ควรจัดตั้งกลุ่มงานพิเศษที่ตรวจสอบเรื่องที่เป็นปัญหาบ่อยและมีทิศทางเพิ่มมากยิ่งขึ้น และที่
เป็นปัญหาที่สำคัญอันได้แก่ ปัญหามาตรฐานอาหาร และปัญหาการละเมิดความเป็นส่วนตัวสำหรับสินค้า
อัจฉริยะ
- สคบ. ควรผลักดันการออกกฎหมายเพื่อปิดช่องโหว่ในการคุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่ ความรับผิดต่อ
สินค้าบกพร่อง กลไกการเยียวยาข้ามแดน และการไกล่เกลี่ยแบบออนไลน์
4.3.8 สิทธิประชากรกลุ่มเฉพาะ
เมื่อพิจารณาช่องว่างในกลไกการดำเนินการที่มีอยู่สำหรับสิทธิประชากรกลุ่มเฉพาะโดยเปรียบเทียบ
ระหว่างกลไกที่มีอยู่กับกลไกที่ควรจะเป็น คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะคือ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
กระทรวงยุติธรรมควรผลักดันให้มีการออกพระราชบัญญัติขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล เพื่อให้สามารถฟ้อง
กรณีการถูกเลือกปฏิบัติเป็นคดีแพ่งหรือคดีปกครอง และสามารถเรียกร้องเยียวยาได้ โดยร่วมหารือกับ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงแรงงาน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวง
สาธารณสุข และสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นต้น
121