Page 122 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 122

ผู้สูงอายุเป็นการเฉพาะ ณ สำนักงานจัดหางานทุกแห่ง รวมถึงการจัดหาอาชีพที่เหมาะสมตามควรแก่อัตภาพ

                           42
               ให้แก่ผู้สูงอายุ
                       ในการคุ้มครองทางสังคมในผู้สูงอายุ มีกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นหน่วยงาน

               หลักที่ดูแลบริบทสังคมโดยรวมด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มประชากรเฉพาะ โดยมีกรมกิจการผู้สูงอายุเป็น
               ผู้ประกอบภารกิจในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ การจัดสวัสดิการและการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิของ

               ผู้สูงอายุ นอกจากนี้ กสม. ก็ยังมีบทบาทในการตรวจสอบ รายงาน หรือรับข้อร้องเรียน การกระทำหรืองดเว้น

               การกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนเพื่อป้องกันการถูกลิดรอนสิทธิของผู้สูงอายุอีกด้วย

                       5. กรณีของกลุ่มผู้ลี้ภัย

                       ผู้ลี้ภัย  หมายถึง กลุ่มคนที่เดินทางออกจากประเทศของตนเนื่องจากสงคราม ความรุนแรง การ
                            43
               ประหัตประหารหรือการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงอื่น ๆ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา

               หรือความคิดเห็นทางการเมือง ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่ไม่สามารถกลับไปยังบ้านเกิดได้ เพราะหวาดหวั่นต่อภยันตราย
               เกินกว่าที่จะกลับไป ประเทศที่เป็นภาคีของอนุสัญญามักจัดตั้งระบบและกระบวนการในการให้สถานภาพผู้ลี้

               ภัย (refugee) แก่ผู้แสวงที่ลี้ภัย (asylum seeker) เมื่อผู้แสวงที่ลี้ภัยรายหนึ่งรายใดมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่
               กำหนดในกฎหมายภายในของแต่ละประเทศ


                       สำหรับประเทศไทยไม่ได้อยู่ในภาคีหรืออนุสัญญาว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัยใด ๆ อีกทั้งไม่มีกฎหมายที่จะให้
               การคุ้มครองให้แก่กลุ่มคนดังกล่าว ดังนั้นผู้ลี้ภัยที่อยู่ในประเทศไทยจึงมีสถานะเป็นผู้ที่เข้าเมืองอย่างผิด

               กฎหมาย ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 เป็นการเข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับ
               อนุญาต พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถส่งตัวคนต่างด้าวผู้นั้นกลับออกไปนอกราชอาณาจักรได้ ดังนั้น การทำงาน

               ใด ๆ ของผู้ลี้ภัย ซึ่งมีสถานะเป็นผู้ที่เข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย จึงเป็นผู้ที่ทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงานตาม

               พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 หากมีการฝ่าฝืนจะต้องระวางโทษ
               จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000 บาทถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


                       อย่างไรก็ดี การทำงานของผู้ลี้ภัยยังคงได้รับความคุ้มครอง รวมถึงสิทธิในการได้รับค่าจ้าง และสิทธิที่
               เกิดจากการจ้างงานตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวไม่ได้มีการกำหนด

               ข้อยกเว้นของความคุ้มครองในกรณีที่เป็นแรงงานข้ามชาติที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสถานะ

               บุคคล หรือ กรณีของผู้ลี้ภัยแต่อย่างใด

                       6. กรณีของกลุ่มคนไร้สัญชาติ

                       คนไร้สัญชาติหมายถึง บุคคลที่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นผู้มีสถานะที่เป็นสมาชิกของประเทศใด หรือไม่

               มีประเทศใดรับว่าเป็นสมาชิกหรือเคยเป็นสมาชิกของประเทศ ซึ่งอาจจะมีทั้งคนต่างด้าวและผู้ที่มีสถานะทาง


               42  ข้อ 2 ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคุ้มครอง การส่งเสริมและการ

               สนับสนุนผู้สูงอายุในการประกอบอาชีพและฝึกอาชีพที่เหมาะสม กำหนดให้ในการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนการ
               ประกอบอาชีพหรือฝึกอาชีพที่เหมาะสม
               43  รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดดู ผู้ลี้ภัย, https://www.amnesty.or.th/our-work/refugees/
                                                            62
   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127