Page 127 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 127

รถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) เจ็ดคนมีความผิด ฐานประท้วงโดยขัดกับระเบียบว่าด้วยการประท้วง และให้

               จ่ายค่าปรับเป็นจำนวนรวม 21 ล้านบาท (643,000 ดอลลาร์สหรัฐ) โดยสหภาพได้ประท้วงที่การรถไฟแห่ง
               ประเทศไทย (รฟท.) ไม่ยอมจ่ายเงินค่าบำรุงรักษาและค่าอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย และไม่ได้จัดเวลาพักที่

               เพียงพอให้แก่พนักงานรถไฟ ซึ่งอาจจะมีส่วนทำให้รถไฟตกรางและมีผู้เสียชีวิตจำนวน 7 คนเมื่อปี พ.ศ.

                    49
               2552
                       ข้อมูลสถิติอื่น ๆ จากหน่วยงานที่รับเรื่องร้องเรียนไม่ปรากฏการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการประกอบ

               ธุรกิจซึ่งเกิดขึ้นจากรัฐวิสาหกิจแต่อย่างใด ทั้งนี้ อาจจะเป็นเพราะข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล หรือการจัดกลุ่ม
               ประเภทเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจทำให้ไม่สามารถได้ข้อมูลในส่วนนี้ได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งอาจจะต้อง

               เสริมด้วยข้อมูลที่ได้มาจากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยคณะผู้วิจัยได้ดำเนินการสัมภาษณ์ศูนย์ดำรงธรรมเพื่อสอบถาม
               ประเด็นกลไกการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจ ซึ่งได้รับทราบว่าการร้องเรียนรัฐวิสาหกิจยังไม่

               ปรากฏมาก ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของหน่วยงานภาครัฐเสียมากกว่า




               3.3   สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากการค้าการลงทุนของประเทศ

                       ในส่วนนี้จะเป็นการพิจารณาผลการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ในการคุ้มครองด้านสิทธิ
               มนุษยชน โดยจะพิจารณาข้อร้องเรียนผ่านคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นหลัก จากนั้นทำการ

               วิเคราะห์แยกย่อยรายประเด็นทางด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจที่สำคัญ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

                       3.3.1   คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

                       ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2559-2561) กสม. ได้มีการพิจารณาข้อร้องเรียนที่ได้คัดกรองแล้วว่ามี

               ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน รวม 1,562 รายการ ในจำนวนนี้จะประกอบไปด้วยข้อร้องเรียนที่

               เกี่ยวข้องกับประเด็นทางด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ และข้อร้องเรียนที่ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็น
               ทางด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ

                       คณะผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อร้องเรียนที่มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นทางด้านสิทธิมนุษยชนและ

               การประกอบธุรกิจ โดยอาศัยกรอบประเด็นที่ได้จากการสังเคราะห์ในส่วนที่ผ่านมา ซึ่งได้พบข้อมูลสถิติที่

               น่าสนใจ (ตารางที่ 3-3) ดังนี้

               ตารางที่ 3-3: ผลการวิเคราะห์จำนวนข้อร้องเรียนที่ กสม. ได้พิจารณาแล้วเสร็จในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา


                  ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ  จำนวนข้อร้องเรียน  ร้อยละ
                  1. สิทธิผู้ถือหุ้น                            0                0.0%
                  2. สิทธิแรงงาน/แรงงานต่างด้าว                 36               12.1%

                  3. สิทธิของธุรกิจในห่วงโซ่อุปทาน              4                1.3%



               49  รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดดู รายงานการปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนประจำปี พ.ศ. 2560 ในส่วนที่เกี่ยวกับประเทศไทย,
               https://th.usembassy.gov/th/our-relationship-th/official-reports-th/2017-human-rights-reports-thailand-th/
                                                            67
   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132