Page 126 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 126
และกลไกที่มีอยู่ในปัจจุบัน ประการสุดท้าย คือ กสม. ได้มีข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการ
ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยมีข้อสรุปเสนอคณะรัฐมนตรีดังนี้ (1)
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนควรได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกันเช่นเดียวกับ
ประชาชนทุกคนในประเทศไทย (2) กรณีที่มีการเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ ควรมีการจัดสมดุลระหว่างการเรียกร้อง
สิทธิและการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของสาธารณะ เนื่องจากเป็นเรื่องละเอียดอ่อน โดยจะต้องมีการย้ำเตือน
เจ้าหน้าที่รัฐให้มีความเข้าใจการใช้สิทธิ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกของประชาชน (3)
กรณีที่มีการแจ้งความเท็จหรือฟ้องร้องซึ่งปรากฏว่าเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตหรือบิดเบือนข้อเท็จจริง
กระบวนการยุติธรรมควรมีมาตรการควบคุมการใช้สิทธิดังกล่าว โดยการลงโทษบุคคลที่แจ้งความอันเป็นเท็จ
ต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 หรือมาตรา 172 เป็นต้น รวมทั้งกรณีที่มีการใช้สิทธิ
แสดงความคิดเห็นโดยสุจริต บุคคลนั้นย่อมได้รับการคุ้มครอง โดยเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา
329 เป็นต้น ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2561 รับทราบข้อสรุปความเห็นจาก
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ จะต้องยึดถือปฏิบัติเป็นแนวเดียวกันต่อไป
3.2.10 ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนในกรณีของรัฐวิสาหกิจ
ที่ผ่านมา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและศาลจะเป็นกลไกหลักในการตรวจสอบข้อเท็จจริง
และเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจของรัฐวิสาหกิจ อย่างไรก็ดี ฐานข้อมูลของ กสม. เอง
ยังข้อจำกัดในส่วนนี้ เพราะเรื่องร้องเรียนที่มีอยู่ในฐานข้อมูลของ กสม. ที่สืบทราบได้จะเป็นกรณีที่รัฐวิสาหกิจ
นั้นเกี่ยวข้องกับสิทธิแรงงาน และสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
ในประเด็นกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานนั้น เมื่อปลายปี พ.ศ. 2561 สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
(สรส.) ได้รวมตัวกันเพื่อขอพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เนื่องจาก ไม่เห็นด้วยกับมติคณะรัฐมนตรีใน
เรื่องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และขอให้สร้างมาตรการแก้ไขปัญหาให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกองทุนสำรองเลี้ยง
ชีพโดย สรส. ขอให้ 1) พนักงานรัฐวิสาหกิจกลับไปสู่ระบบบำเหน็จบำนาญแบบเดิมเช่นเดียวกับข้าราชการ 2)
มีการจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงกรณีที่พนักงานรัฐวิสาหกิจที่ออกจากกองทุนระหว่างทำงาน หรือ
เกษียณอายุต้องได้รับเงินไม่น้อยกว่ากองทุนบำเหน็จโดยให้กองทุนเป็นผู้ชดเชย 3) องค์การหรือนายจ้างปรับ
เพิ่มอัตราการส่งเงินสมทบ เข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพในอัตราสูงสุด และ 4) มีการตั้งคณะทำงานระหว่าง
ผู้แทนรัฐบาล กระทรวงการคลัง กับผู้แทนสมาพันธ์แรงงาน รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เพื่อหาแนวทางในการ
48
แก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน
นอกจากนี้ กฎหมายได้ห้ามมิให้มีการนัดหยุดงานหรือปิดกิจการในหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงาน
รัฐวิสาหกิจและยังได้กำหนดบทลงโทษ ให้จำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ ต่อผู้ที่ทำการประท้วงหยุดงานใน
องค์กรรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเคยมีกรณีศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้แกนนำสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ
48 รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดดู รายงานสถานการณ์การละเมิดสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนฉบับที่ 50/2561ระหว่างวันที่ 8-
14 ธันวาคม 2561, http://www.rlpd.go.th/rlpdnew/images/rlpd_3/2561/Human_Rights_Issues/50-61.pdf
66