Page 119 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 119

35
               กองทุนตามมาตรา 24 (5) เป็นจำนวนเงินตามที่กฎหมายกำหนด  หรือ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์
               จะรับคนพิการเข้าทำงานตามมาตรา 33 หรือนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการไม่รับคนพิการเข้าทำงาน
               ตามมาตรา 33 และไม่ประสงค์จะส่งเงินเข้ากองทุนตามมาตรา 34 หน่วยงานของรัฐ นายจ้างหรือเจ้าของ

               สถานประกอบการนั้นอาจให้สัมปทานจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมา

               บริการโดยวิธีกรณีพิเศษ ฝึกงาน หรือจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก ล่ามภาษามือ หรือให้ความ
                                                         36
               ช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการก็ได้
                       ทั้งนี้กรณีที่มีการฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว กฎหมายมีกลไกในการลงโทษ เช่น การลงโทษโดยใช้
               มาตรการการเสียดอกเบี้ยกรณีที่เจ้าของสถานประกอบการที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนแต่มิได้ส่ง ส่งล่าช้า หรือส่ง

               เงินไม่ครบถ้วน มาตรการอายัดทรัพย์สินของนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับ

               การจ้างงานคนพิการตามจำนวนที่ไม่ส่งเงินเข้ากองทุนไม่ใช้กับหน่วยงานของรัฐ มาตรการร้องเรียนหรือฟ้อง
               ศาลเรียกค่าเสียหายกรณีฝ่าฝืนในบางกรณีอาจถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการโดยที่คน

               พิการสามารถดำเนินการร้องเรียนได้ รวมถึงการใช้สิทธิทางศาลฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดให้ศาลมีอำนาจ
               กำหนดค่าเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินให้แก่คนพิการที่ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมได้ เป็นต้น

                       2. กรณีของกลุ่มผู้ติดเชื้อ HIV มักมีสาเหตุมาจากปัญหาทัศนคติเชิงลบ ส่งผลให้เกิดการปฏิบัติที่ไม่

               เท่าเทียมกันกับผู้อื่นเกิดขึ้น ทั้งยังรวมถึงระบบการสมัครเข้าทำงานทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชนหลายแห่งที่
               มีนโยบายให้ผู้สมัครเข้าทำงานต้องเข้ารับการตรวจเลือดก่อน ซึ่งหากมีการตรวจพบก็มีความเป็นไปได้ที่จะ

               ไม่ได้รับการบรรจุเข้าทำงาน

                       กระทรวงแรงงานโดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนานโยบายการ

               ป้องกันและการจัดการด้านเอดส์ในโลกแห่งการทำงาน ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนานโยบายแห่งชาติด้าน

               การป้องกันและการจัดการด้านเอดส์ที่เหมาะสมในโลกแห่งการทำงาน ได้มีมติเห็นชอบต่อร่างแนวปฏิบัติการ
               ป้องกันและจัดการด้านเอดส์ในสถานประกอบกิจการ และเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานพิจารณาให้

               ความเห็นชอบและลงนามในประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง แนวปฎิบัติการป้องกันและจัดการ ด้านเอดส์ใน
               สถานประกอบกิจการเพื่อให้สถานประกอบกิจการทุกประเภท ทุกขนาดทั้งในระบบและนอกระบบนำไปเป็น

               กรอบแนวปฏิบัติในการดำเนินงานป้องกันและจัดการด้านเอดส์อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับแนวปฏิบัติสากล

               นอกจากนี้ ยังได้มีการสรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 เรื่อง การปรับปรุง
               มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับเรื่อง การให้โอกาสผู้ติดชื้อเอดส์ คนพิการ ผู้เสพ และผู้ติดยาเสพติดซึ่งพ้นจากสภาพ

               การใช้ยาเสพติด เข้าทำงานหรือรับการศึกษาต่อในหน่วยงานภาครัฐโดยที่รัฐบาลมีนโยบายที่เร่งดำเนินการ
               แก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคม รวมทั้งการดูแลคนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ดังนั้น เพื่อส่งเสริมความ

               เป็นธรรมในสังคมในเรื่องสิทธิ โอกาส และความเสมอภาคของผู้ติดเชื้อเอดส์ คนพิการ และผู้เสพผู้ติดยาเสพ

               ติดซึ่งพ้นจากสภาพการใช้ยาเสพติด จึงให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ ถือปฏิบัติโดยการ
               ห้ามออกกฎหมายหรือระเบียบที่ลิดรอนสิทธิผู้ติดเชื้อเอดส์ คนพิการ และผู้เสพ (ผู้ติดยาเสพติด ซึ่งพ้นจาก



               35  มาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550
               36  มาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550
                                                            59
   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124