Page 44 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 44

รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
               คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน


               ปัจเจก แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้รับรองสิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

               และสิ่งแวดล้อมและสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน รวมถึงได้ก าหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐในการ
               สนับสนุนให้ประชาชนใช้สิทธิดังกล่าว



               2.2  แนวคิดในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน


                       ในปัจจุบันการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรัฐนั้นเป็นไปตามแนวคิดเสรีนิยมสมัยใหม่ (neoliberalism)
               เป็นหลัก ท าให้ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะที่ดินนอกจากจะเป็นความมั่นคงในการด ารงชีวิต คือ การใช้เป็น

               ที่อยู่อาศัยหรือท ามาหากินแล้ว ยังเพิ่มลักษณะที่เป็น ‘สินทรัพย์’ ซึ่งสามารถซื้อขายและเก็งก าไรผ่านกลไก

               ตลาดได้ รวมถึงการที่ประชากรขยายตัว มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เกิดการใช้ทรัพยากรมากขึ้น ท าให้
               ราคาที่ดินสูงขึ้นและมีการกว้านซื้อที่ดิน น ามาซึ่ง ‘การพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน’ การกระจายการถือครองที่ดินต่ า

                                                  37
               ขาดความเสมอภาคในการเข้าถึงทรัพยากร
                       ด้วยปัญหาการเข้าไม่ถึงทรัพยากรของคนหลายกลุ่มและทรัพยากรเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นทั่วโลก จึงเกิด

               แนวคิดในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนผ่านศาสตร์ต่างๆ ซึ่งในที่นี้จะได้ท าการ
               ศึกษา 3 แนวคิด ได้แก่ (1) การพัฒนาที่ยั่งยืน (2) สิทธิในทรัพย์สินและระบบกรรมสิทธิ์ และ (3) วนศาสตร์

               ชุมชน ดังนี้

                       2.2.1  การพัฒนาที่ยั่งยืน


                       แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainable development) ได้รับการรับรองในรายงาน Our Common
               Future หรือที่รู้จักกันในชื่อ Bruntland Report จากการประชุมโลกว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน (World

               Summit on Sustainable Development: WSSD) เมื่อ ค.ศ. 1987 โดยนิยามความหมายของการพัฒนา
                        38
               อย่างยั่งยืน  ไว้ว่า หมายถึง “การพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบันโดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบ
               ต่อการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นถัดไป” ซึ่งการตอบสนองความต้องการนี้ไม่ได้หมายถึงในเชิงเศรษฐกิจ

               เพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงมิติทางสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย

                       ในปี พ.ศ. 2543 ประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวม 189 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยได้รวมตัวกันในการ

               ประชุมองค์การสหประชาชาติที่มหานครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และเห็นพ้องต้องกันในการตั้งเป้าหมายการ
               พัฒนาทั้งในระดับชาติและระดับสากลที่จะด าเนินการร่วมกันให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2558 โดยเรียกว่า เป้าหมาย

               การพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs) ต่อมาเมื่อเป้าหมายดังกล่าวถึงก าหนด
               องค์การสหประชาชาติจึงได้ก าหนดเป้าหมายการพัฒนาขึ้นใหม่ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของการพัฒนา





               37    ศักดิ์ชัย เอกอินทุมาศ และรุ่งรัศมี บุญดาว. ความยั่งยืน ในการบริหารจัดการระบบที่ดินของกรมที่ดิน. วารสารสมาความวิจัย
                   ปีที่ 19 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2557.
               38    Sustainable Development is development that meets the needs of the present without compromising the
                   ability of future generations to meets their own needs.



               2-26                                                             สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49