Page 173 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 173
บทที่ 6
แนวทางในการส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
บนฐานของสิทธิในสิ่งแวดล้อมและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ
น าเข้าในการผลิต ความรู้ บริการทางการเงิน ตลาด และ
โอกาสส าหรับการเพิ่มมูลค่าและการจ้างงานนอกฟาร์ม
อย่างปลอดภัยและเท่าเทียม
เป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ เป้าหมายที่ 8.4 พัฒนาความมีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรของโลก
ที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน ในการบริโภคและการผลิต และพยายามที่จะตัดความ
การจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ เชื่อมโยงระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและการท าให้
และการมีงานที่สมควรส าหรับ สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ซึ่งเป็นไปตามกรอบการด าเนินงาน
ทุกคน 10 ปีของแผนการท างานเพื่อการบริโภคและการผลิต
ที่ยั่งยืน โดยมีประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นผู้น าในการ
ด าเนินการ
เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและ เป้าหมายที่ 10.2 ให้อ านาจและส่งเสริมความครอบคลุมด้านสังคม
ระหว่างประเทศ เศรษฐกิจและการเมืองส าหรับทุกคน โดยไม่ค านึงถึงอายุ
เพศ ความบกพร่องทางร่างกาย เชื้อชาติ ชาติพันธุ์
แหล่งก าเนิด ศาสนา หรือสถานะทางเศรษฐกิจหรืออื่นๆ
เพื่อตอบเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินกระจุกตัว การส่งเสริมให้ประชาชน
โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางเข้าถึงที่ดินอันเป็นปัจจัยพื้นฐานในการใช้สิทธิมนุษยชนอื่นๆ เป็นหน้าที่ของรัฐในการ
ด าเนินการเกี่ยวกับทรัพยากรตามมาตรา 72 และเป้าหมายในการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 257 (2)
แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่ก าหนดให้มีมาตรการกระจายการถือครองที่ดิน
เพื่อให้ประชาชนสามารถมีที่ท ากินได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม จึงจ าเป็นต้องมีการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้
ในการกระจายการถือครองที่ดิน ทั้งมาตรการทางภาษี มาตรการจัดสรรที่ดิน และการลดความเหลื่อมล้ า ดังนี้
มาตรการทางภาษี
(1) ภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า
ภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้าถูกน าเสนอเพื่อลดแรงจูงใจในการสะสมที่ดินโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์ กล่าวคือ
หากยิ่งมีการถือครองที่ดินจ านวนมาก ยิ่งต้องเสียภาษีในอัตราก้าวหน้า รวมทั้งเสียในอัตราที่สูงเป็นพิเศษ
ส าหรับที่ดินที่มีการปล่อยให้รกร้างว่างเปล่าไม่ได้ท าประโยชน์ เพื่อให้ที่ดินหลุดจากการกระจุกตัว และผู้มี
รายได้น้อยสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น ทั้งนี้ ภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้าที่จะสามารถช่วยในการกระจายการถือครอง
ที่ดินได้นั้นจะต้องมีอัตราก้าวหน้าตามการถือครองที่สูงเพียงพอที่จะลดแรงจูงใจในการถือครองที่ดิน
ซึ่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ยังถือว่ามีอัตราที่สูงไม่เพียงพอ และมีการยกเว้นที่สูง
(ที่ดินที่มีมูลค่าต่ ากว่า 50 ล้านบาทจะได้รับยกเว้น)
นอกจากนี้ ควรมีการส่งเสริมให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการถือครองที่ดินโดยไม่จ าเป็นต้องเปิดเผย
ตัวผู้ถือครองที่ดิน เพื่อน ามาศึกษาลักษณะการกระจุกและการกระจายตัวของที่ดินที่เปลี่ยนไปในแต่ละปี
เป็นฐานคิดในการก าหนดนโยบายการถือครองและฐานการคิดภาษีที่จะตอบวัตถุประสงค์ของนโยบายได้ต่อไป
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 6-3