Page 177 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 177
บทที่ 6
แนวทางในการส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
บนฐานของสิทธิในสิ่งแวดล้อมและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ
มาตรการการกระจายการถือครองที่ดินถือเป็นเรื่องส าคัญที่ลดความตึงเครียดของการแย่งชิงที่ดิน
ในระบบตลาด เป็นการรับประกันสิทธิการเข้าถึงที่ดิน (access to land) มาตรการต่างๆ ที่ได้กล่าวมา
เป็นมาตรการเพื่อผ่อนคลายการกระจุกตัวของที่ดิน ลดความเหลื่อมล้ าในการถือครองที่ดิน ซึ่งจะท าให้เกิด
ความเป็นธรรม ไม่เพียงแต่ส าหรับความเหลื่อมล้ าระหว่างคนในรุ่นเดียวกัน แต่ยังมองถึงความเหลื่อมล้ าในการ
เข้าถึงที่ดินของคนระหว่างรุ่นด้วย
6.2 การก าหนดวัตถุประสงค์และมาตรฐานการใช้ที่ดินของรัฐ
เนื่องจากการใช้ที่ดินของรัฐยังมีช่องว่างทั้งทางกฎหมายและทางข้อเท็จจริง ท าให้เกิดการบุกรุกที่ดิน
ของรัฐ เช่น ที่สงวนหวงห้ามแต่มีราษฎรเข้าท าประโยชน์ หรือการเข้าอยู่อาศัยในที่ราชพัสดุซึ่งไม่อาจออก
เอกสารสิทธิได้ ทั้งที่มีการเสียภาษีบ ารุงท้องที่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น การก าหนด
วัตถุประสงค์และมาตรฐานการใช้ที่ดินของรัฐให้มีความชัดเจนจะเป็นการรองรับสิทธิของประชาชน สร้างความ
โปร่งใสและความน่าเชื่อถือให้กับภาครัฐ และสามารถก าหนดนโยบายด้านที่ดินในระยะยาวได้ ซึ่งตอบ
เป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนี้
เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่ เป้าหมายที่ 1.3 ด าเนินการให้เกิดผลลัพธ์ตามระบบและมาตรการ
คุ้มครองทางสังคมที่เหมาะสมของแต่ละประเทศ และ
ให้ครอบคลุมถึงกลุ่มที่ยากจนและเปราะบาง
เป้าหมายที่ 1.4 สร้างหลักประกันว่าชายและหญิงทุกคน โดยเฉพาะ
ที่ยากจนและเปราะบาง มีสิทธิเท่าเทียมกันใน
ทรัพยากรทางเศรษฐกิจ รวมถึงการเข้าถึงบริการ
ขั้นพื้นฐาน การเป็นเจ้าของและควบคุมเหนือที่ดินและ
อสังหาในรูปแบบอื่น มรดก ทรัพยากรธรรมชาติ
เทคโนโลยีใหม่ที่เหมาะสม และบริการทางการเงิน
ซึ่งรวมถึงระบบการเงินระดับฐานราก (microfinance)
เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคง เป้าหมายที่ 2.3 เพิ่มผลิตภาพทางการเกษตรและรายได้ของผู้ผลิต
ทางอาหารและยกระดับโภชนาการ อาการรายเล็ก โดยเฉพาะผู้หญิง คนพื้นเมือง เกษตรกร
และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน แบบครอบครัว คนเลี้ยงปศุสัตว์ ชาวประมง ให้เพิ่มขึ้น
เป็น 2 เท่า โดยรวมถึงการเข้าถึงที่ดินและทรัพยากร
และปัจจัยน าเข้าในการผลิต ความรู้ บริการทางการเงิน
ตลาด และโอกาสส าหรับการเพิ่มมูลค่าและการจ้างงาน
นอกฟาร์ม อย่างปลอดภัยและเท่าเทียม
เป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ เป้าหมายที่ 8.4 พัฒนาความมีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรของโลก
ที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน ในการบริโภคและการผลิต และพยายามที่จะตัดความ
การจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ เชื่อมโยงระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและการท าให้
และการมีงานที่สมควรส าหรับทุกคน สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ซึ่งเป็นไปตามกรอบการ
ด าเนินงาน 10 ปีของแผนการท างานเพื่อการบริโภค
และการผลิตที่ยั่งยืน โดยมีประเทศที่พัฒนาแล้วเป็น
ผู้น าในการด าเนินการ
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 6-7