Page 178 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 178
รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
เป้าหมายที่ 16 ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุม เป้าหมายที่ 16.1 ลดความรุนแรงทุกรูปแบบและอัตราการตาย
เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคน ที่เกี่ยวข้องในทุกแห่งให้ลดลงอย่างมีนัยส าคัญ
เข้าถึงความยุติธรรม และสร้าง เป้าหมายที่ 16.3 ส่งเสริมนิติธรรมทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศ
สถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบ และสร้างหลักประกันว่าจะมีการเข้าถึงความยุติธรรม
และครอบคลุม ในทุกระดับ
อย่างเท่าเทียมแก่ทุกคน
เป้าหมายที่ 16.6 พัฒนาสถาบันที่มีประสิทธิผล มีความรับผิดชอบ และ
โปร่งใสในทุกระดับ
เป้าหมายที่ 16.7 สร้างหลักประกันว่าจะมีกระบวนการตัดสินใจที่มี
ความรับผิดชอบ ครอบคลุม มีส่วนร่วม และมีความ
เป็นตัวแทนที่ดี ในทุกระดับการตัดสินใจ
เป้าหมายที่ 16.10 สร้างหลักประกันว่าสาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูล
และมีการปกป้องเสรีภาพขั้นพื้นฐาน โดยเป็นไปตาม
กฎหมายภายในประเทศและความตกลงระหว่าง
ประเทศ
นอกจากนี้ เป้าหมายในการปฏิรูปประเทศตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
มาตรา 257 (2) ยังได้ก าหนดให้รัฐต้องจัดให้มีการตรวจสอบกรรมสิทธิ์และการถือครองที่ดินทั้งประเทศเพื่อ
แก้ไขปัญหากรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองที่ดินอย่างเป็นระบบ ประกอบกับหน้าที่ของรัฐในการด าเนินการ
เกี่ยวกับทรัพยากรตามมาตรา 72 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่ได้ก าหนดให้รัฐวาง
แผนการใช้ที่ดินของประเทศให้เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่และศักยภาพของที่ดินตามหลักการพัฒนาอย่าง
ยั่งยืน จัดให้มีการวางผังเมืองทุกระดับและบังคับการให้เป็นไปตามผังเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ รวมตลอดทั้ง
พัฒนาเมืองให้มีความเจริญโดยสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ อันจะเป็นการเพิ่มความ
มั่นคงในการถือครองที่ดินอย่างไม่เป็นทางการ คุ้มครองสิทธิของประชาชน และเพิ่มความชัดเจนในการก าหนด
ทิศทางเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม
ที่ดินของรัฐ หมายถึงที่ดินที่รัฐเป็นเจ้าของและอยู่ภายใต้การก ากับดูแลและบริหารจัดการโดย
หน่วยงานรัฐ ซึ่งมีกฎหมายที่ให้อ านาจหน่วยงานเป็นการเฉพาะในการดูแลรักษา ได้แก่ ที่ป่าไม้ ที่ปฏิรูปที่ดิน
เพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ที่นิคมสร้างตนเอง ที่ราชพัสดุ ที่ทางหลวง ที่แม่น้ า ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ส าหรับประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย มีหน่วยงานรับผิดชอบ มีลักษณะการใช้
ประโยชน์และรูปแบบการจัดการ ดังตาราง
6-8 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย